RSS

Merry Christmas . Replace this text with your christmas wishes for your visitors .

Clock

2NE1 Fire

เที่ยววัด จังหวัดศรีสะเกษ



















ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่



อำเภออุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ












ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ ริมทางหลวงหมายเลข 226 ห่างจากจังหวัด 26 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร เป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด ลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์บนฐานเดียวกัน เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ก่อด้วยหินทราย มีอิฐแซมบางส่วน มีทับหลังจำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างบนแท่นเหนือหน้ากาล ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ เป็นปรางค์อิฐ มีส่วนประกอบตกแต่งที่เป็นหินทราย เช่น ทับหลัง กรอบหน้าบันและกรอบเสาประตู ด้านหลังปรางค์องค์ทิศใต้มีปรางค์ก่ออิฐอีก 1 องค์ ด้านหน้ามีวิหารก่ออิฐ 2 หลัง ล้อมรอบด้วยระเบียงคตก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีโคปุระหรือประตูซุ้มทั้ง 4 ทิศ ส่วนวิหารที่ก่อด้วยอิฐซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ มีทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่เหนือพระยาอนันตนาคราช ท่ามกลางเกษียรสมุทร และที่วิหารก่ออิฐทางด้านทิศใต้ มีทับหลังรูปพระอิศวรกับพระอุมาประทับนั่งเหนือนนทิ ปัจจุบันปราสาทแห่งนี้อยู่ในความดูแลของกองโบราณคดี กรมศิลปากร และได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่นทับหลังจำหลักภาพศิวะนาฏราช, พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะและยังพบพระพุทธรูปนาคปรก, พระพุทธรูปปางสมาธิ, พระพิมพ์ดินเผา ฯลฯจากหลักฐานลวดลายที่ปรากฏบนหน้าบัน ทับหลัง และโบราณวัตถุต่างๆ โดยเฉพาะจารึกที่หลืบประตูปราสาทสระกำแพงใหญ่ สรุปได้ว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับศิลปะขอมแบบบาปวน เพื่อเป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ และเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ห่างจากตัวจังหวัด 26 กิโลเมตรและห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร








ปราสาทบ้านปราสาท (ปราสาทห้วยทับทัน)อำเภอห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ







ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ปราสาทบ้านปราสาท (ปราสาทห้วยทับทัน) ตั้งอยู่ที่วัดปราสาทพนาราม บ้านปราสาท จากตัวเมืองศรีสะเกษเดินทางไปตามทางหลวงสาย 226 ประมาณ 39 กิโลเมตร ถึงอำเภอห้วยทับทัน แล้วเลี้ยวขวาตามทางลูกรังไปอีก 8 กิโลเมตร ปราสาทห้วยทับทันเป็นโบราณสถาณแบบขอมแห่งหนึ่ง ที่ถูกดัดแปลงในสมัยหลังเช่นเดียวกับปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยเฉพาะส่วนหลังคาซึ่งคล้ายคลึงกันมาก แต่มีขนาดสูงกว่าประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ มีกำแพงล้อมรอบพร้อมซุ้มประตูก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าเดิมมี 3 หรือ 4 ทิศ ปัจจุบันคงเหลือเพียงด้านทิศใต้เท่านั้น ปรางค์องค์กลางขนาดใหญ่กว่าปรางค์อีก 2 องค์ ที่ขนาบข้างเล็กน้อยแต่ส่วนหลังคาเตี้ยกว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง มีประตูเดียวด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีกรอบประตูหินทราย และทับหลังติดอยู่เป็นภาพบุคคลยืนอยู่เหนือหน้ากาล ส่วนท่อนพวงมาลัย มีลายมาแบ่งที่เสี้ยวภาพบุคคลยืนในซุ้มเรือนแก้ว ไม่อาจสันนิษฐานว่าเป็นผู้ใดด้วยลายสลักยังไม่แล้วเสร็จ ปรางค์สององค์ที่ขนาบข้างขนาดเดียวกัน ได้รับการดัดแปลงรูปแบบไปมากโดยเฉพาะส่วนหลังคาและประตูซึ่งก่อทึบหมดทุกด้าน ยังคงปรากฏกรอบประตูหินทราย และชิ้นส่วนทับหลัง สลักภาพการกวนเกษียรสมุทรตกอยู่หน้าประตูปรางค์องค์ที่อยู่ด้านทิศใต้ จากลักษณะทางด้านศิลปกรรมของทับหลังที่ปรากฏอาจสันนิษฐานได้ว่า ปราสาทแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ร่วมสมัยศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวนของเขมร และในสมัยหลังต่อมาได้รับการดัดแปลง การเดินทาง จากตัวเมืองศรีสะเกษ ใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ประมาณ 39 กิโลเมตร ถึงอำเภอห้วยทับทัน แล้วเลี้ยวขวาตามทางอีก 8 กิโลเมตร





ที่มา
http://www.sisaket.go.th/travel/travel.html
http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?showtopic=464

แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ


จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีพื้นที่อยู่ทางด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่มากกว่า 8,840 ตารางกิโลเมตร นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 21 ของประเทศไทย และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 9 ของประเทศ โดยประชากรส่วนใหญ่ของ จังหวัดศรีสะเกษ จะพูดภาษาอีสาน ภาษาเขมร และภาษาส่วย

แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ

ศรีสะเกษ เดิมเรียกว่า เมืองขุขันธ์ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเมืองมาแต่สมัยขอม ปรากฏหลายแห่งเล่ากันว่า เมืองขุขันธ์เดิม เรียกว่า ศรีนครลำดวน ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ตำบลลำดวนใหญ่ กิ่งอำเภอวังหิน ในปัจจุบัน ถูกยกขึ้นเป็นเมืองเมื่อ พ.ศ. 2302 สมัยกรุงศรีอยุธยา มีหลวงแก้วสุวรรณ ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระไกรภักดี เป็นเจ้าเมืององค์แรก

ล่วงถึง รัชสมัยรัชการที่ 5 ได้ย้ายเมืองขุขันธ์ มาอยู่ที่เมืองศรีสะเกษ (ที่บ้านเก่า ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองในปัจจุบัน) แต่ยังคงใช้ชื่อว่า เมืองขุขันธ์ จนถึง พ.ศ. 2481 จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดศรีสะเกษตั้งแต่นั้นมา

การเดินทาง

ทางรถยนต์ ใช้ ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี จึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) เข้าเส้นทางโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24 ) ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 220 เข้าตัวเมืองศรีสะเกษ รวมระยะทางประมาณ 571 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง ติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่ โทร. 02-9363660, 02-9360657

รถไฟ จากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีรถธรรมดา, รถเร็ว และรถด่วน สายกรุงเทพฯ-ศรีสะเกษ ระยะทาง 515 กิโลเมตร

นอก จากนั้น ยังมีรถโดยสารจากตัวอำเภอเมืองศรีสะเกษ ไปยังอำเภอต่างๆ ทุกอำเภอ และจังหวัดใกล้เคียงด้วย การเดินทางในตัวเมือง มีรถสามล้อรับจ้างอยู่ทั่วไป






ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น



ที่มาของข้อมูล

http://www.sisaket.go..th/travel/travel.html
http://www.toursisaket.com/th/tour.php
http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?showtopic=464

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดศรีสะเกษ





อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตประเทศกัมพูชา บริเวณที่ติดกับผามออีแดงของประเทศไทย โดยตัวปราสาทหันหน้ามายังด้านที่ติดกับประเทศไทย ดังนั้น การเข้าชมปราสาทในทางบก จึงต้องใช้เส้นทางที่ผ่านผามออีแดงของประเทศไทยเท่านั้น

ปราสาทเขาพระวิหาร (Prasat Preah Vihear)
ปราสาทเขาพระวิหาร ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงเร็ก (ดองเร็ก) ภาษาเขมรแปลว่า ภูเขาไม้คาน ซึ่งกั้นพรหมแดนระหว่าง ไทยกับกัมพูชา มีความสูงจากพื้นดิน 547 เมตร และระดับความสูง 657 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล พระวิหารหรือในภาษาเขมรเรียกว่า เปรียะวิเหียร หมายถึงสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร อันหมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์

สำหรับสถานที่ตั้งและทิศทางปราสาทเขาพระวิหารนั้น ปรากฏว่าปราสาทแห่งนี้หันหน้าไปทางทิศเหนือแทนการหันไปสู่ทิศตะวันออก ดังเช่นศาสนสถานแบบเขมรโดยทั่วไป โดยหลักการแล้วการสถาปนาปราสาทขึ้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อ การรังสรรค์ที่ประทับของเทพเจ้าตามแบบจำลองของพระราชวังบนสรวงสวรรค์

ปราสาทเขาพระวิหาร ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาทราย จำแนกออกเป็นประเภทต่างๆได้แก่ ปราสาทประธาน ระเบียงคด โคปุระ อาคารรูปกากบาท วิหาร บรรณาลัย และบันไดนาคพร้อมทางเดิน องค์ประกอบทั้งหมดของศาสนสถานแห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาลาดลงตามไหล่เขาพระ วิหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงเร็ก

ในวัฒนธรรมเขมรได้ให้ความสำคัญแก่ยอดเขาโดยถือว่ายอดเขาเป็นสถาน ที่ซึ่งได้รับการเลือกสรรมาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ตั้งแต่กลางสมัยพุทธศตวรรษที่ 15 ได้เริ่มนิยมสร้างศาสนสถานบนยอดเขาธรรมชาติตามความหมายของศาสนบรรพต เหนือยอดเขาพระวิหารซึ่งถือว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่สถิตของ เทพเจ้า โดยปกติแล้วทิศของศาสนสถานของเขมรทั้งหมดจะหันหน้าออกไปทางทิศตะวันออก แต่บางครั้งก็ต้องมีการปรับปรุงให้เข้ากับทางภูมิศาสตร์

ปราสาทเขาพระวิหารปัจจุบันอยู่ภายใต้การครอบครองของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนกัมพูชา ซึ่งอยู่ติดกับอำเภอ กันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

การเข้าชม เปิด ให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00 น . – 16.30 น. ค่าเข้าชม ต้องเสียค่าธรรมเนียมสองด่าน คือค่าผ่านด่านเขาพระวิหารชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 200บาท และค่าเข้าชมเขาพระวิหารที่เป็นการเก็บของด่านกัมพูชา ชาวไทยผู้ใหญ่ 50 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 200 บาท

การเดินทาง

จากศรีสะเกษไปทางอำเภอกันทรลักษณ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 221 จะผ่านบ้านภูมิซร๊อล มาจนถึงเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จะมีด่านตรวจ ผ่านด่านแล้วให้ขึ้นไปตามทางขึ้นเขา

จากอุบลราชธานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 24ที่ไปเดชอุดม มาจนถึงทางแยกเข้าทางหมายเลข 2085 ไปอำเภอกันทรลักษณ์ แล้วตรงไปตามทางดังกล่าว

รถโดยสาร มีรถโดยสารจากอำเภอเมือง ศรีสะเกษ ไปถึงอำเภอกันทรลักษณ์ ออกทุกชั่วโมงแล้วเหมารถต่อไปปราสาท หรือเหมารถรับจ้างจากอำเภอเมืองปราสาทไป ราคาประมาณ 1,000 บาท

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

อุทยาน แห่งชาติเขาพระวิหาร ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอน้ำยืน กิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ หรือ 130 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารทางด้านบริเวณผามออีแดง ท้องที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จัดได้ว่าสะดวกที่สุด

พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งลำโดมใหญ่ ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 และกองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในภาค 2 ค่ายสุรนารี นครราชสีมา ซึ่งได้ทำความตกลงกับกรมป่าไม้ กำหนดพื้นที่ป่าไม้ชายแดนให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และเป็นแหล่งต้น น้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มาก มีทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และได้ขอให้กรมป่าไม้กำหนดและประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

ผลจากการสำรวจเพื่อดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติปรากฏว่า สภาพป่าของพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณ อยู่ในป่าโครงการไม้กระยาเลยป่าเขาพระวิหาร (ศก.7) ผ่านการทำไม้แล้ว กับอีกส่วนหนึ่งอยู่ในป่าโครงการไม้กระยาเลยป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ (อบ.2) มีทัศนียภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่หลายแห่ง อาทิเช่น จุดชมวิวผามออีแดง จุดชมวิวหน้าผาช่องโพย บริเวณป่าและสวนหินรอบสระตราว ถ้ำฤาษี แหล่งตัดหิน สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำใต้ผามออีแดง น้ำตกผาช่องโพย จุดชมวิว ภูเซี่ยงหม้อ ปราสาทโดนตาลและที่สำคัญอีกจุดหนึ่งคือ ปราสาทเขาพระวิหาร โบราณสถานสำคัญเก่าแก่ที่เคยเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ.2505 ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินให้ตกเป็นสมบัติของประเทศกัมพูชาแล้ว โดยเด็ดขาดก็ตาม แต่ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารนั้นอยู่ด้านพื้นที่ของประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผ่านและอาศัยพื้นที่ทางขึ้นด้านบริเวณผามออีแดงที่ จังหวัดศรีสะเกษ จัดว่าสะดวกที่สุด เพราะฉะนั้นการที่ชาวไทยหรือชนชาติต่างๆ ที่ต้องการเดินทางไปศึกษาหาความรู้และพักผ่อนหย่อนใจบนปราสาทเขาพระวิหาร จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับประเทศไทยแต่อย่างใด ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยโดยจังหวัดศรีสะเกษได้ประสานงานตกลงกับจังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว ในเรื่องการขอใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวของสถานที่บริเวณส่วนบนปราสาทเขา พระวิหารแห่งนี้ร่วมกัน

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน ตำบลโคกสะอาด กิ่งอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน จังหวักอุบลราชธานี และป่าเขาพระวิหารในท้องที่ตำบลเสาธงชัย ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศ

คดีเขาพระวิหาร

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะข้าหลวงต่างพระองค์ มณฑลอีสาน สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ค้นพบปราสาทแห่งนี้ในปี 2442 พร้อมกับจารึกพระนามและ ร.ศ. ที่ค้นพบไว้ที่ชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า “๑๑๘ สรรพสิทธิ” ซึ่งอีก 5 ปีต่อมา ไทยทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส และให้ฝรั่งเศสรับผิดชอบเรื่องการทำแผนที่ โดยการเขียนแผนที่ในครั้งแรกเขาพระวิหารยังอยู่ในเขตแดนของไทย แต่ในปี 2450 มีการทำสนธิสัญญาเพิ่มเติมและมีการกำหนดเขตแดนกันใหม่ ปรากฏว่าเขาพระวิหารตกไปอยู่ในพื้นที่ของกัมพูชา แต่ไทยก็ไม่ได้ทักท้วงประการใด จึงเท่ากับยอมรับไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ตามไทยยังใช้สิทธิครอบครองเขาพระวิหารเรื่อยมา จนกระทั่งปี 2502 เจ้านโรดม สีหนุ กษัตริย์กัมพูชา ยื่นฟ้องต่อ ศาลระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ภายหลังการไต่สวนถึง 3 ปี มีการนัดสืบพยาน 73 ครั้ง จนในที่สุดศาลโลกตัดสินให้ กัมพูชาเป็นฝ่ายชนะคดี ด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง

ในเวลาต่อมากัมพูชาเสนอให้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นมรดกโลกต่อ องค์การยูเนสโก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ณ เมืองไครสเชิร์ช นิวซีแลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2550 แต่ไทยกับกัมพูชามีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งฝ่ายไทยกล่าวว่าควรแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่เขตแดนทับซ้อนรอบปราสาทก่อน แล้วจึงค่อยเสนอ จนกระทั่งใกล้ถึงการประชุมสมัยที่ 32 ที่แคนาดา ในปีถัดมา ก็ยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกัน และถ้าหากเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยอ้างอิงจากแผนที่ ที่ฝรั่งเศสทำ จะทำให้ไทยต้องเสียดินแดนถอยร่นเข้ามาประมาณ 7.2 ตารางกิโลเมตร

วันที่ 23 มิถุนายน 2551 เวลา 10.15 น. ได้มีขบวนกลุ่มธรรมยาตราชาวไทย มาชุมนุมขับไล่ผลักดันชาวกัมพูชาให้ออกไปจากเขตแดนไทย ที่บริเวณเชิงเขาพระวิหาร หลังจากนั้น พล.ต.ย็อก วันล็อก ประธานคณะทำงานขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา พร้อมด้วย นายเปรี๊ยบ ตัน ผวจ.พระวิหาร ได้มีคำสั่งให้นำเอากุญแจมาล็อกประตูเหล็กที่ข้ามเข้าไปสู่เขาพระวิหาร และมีกำลังทหารกัมพูชาจำนวนหลายร้อยคน พร้อมด้วยอาวุธหนักและอาวุธเบาแต่งเครื่องแบบ พากันมาตรึงกำลังรอบบริเวณเขาพระวิหาร ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ขึ้นไปยังปราสาทเขาพระวิหารเป็นการชั่วคราว เนื่องจากอาจจะมีผู้ที่ไม่ประสงค์ดีแอบแฝงเข้ามาก่อเหตุร้ายในบริเวณชุมชน กัมพูชาที่บริเวณเชิงเขาพระวิหาร





ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น


ที่มาของข้อมูล

http://www.sisaket.go.th/travel/.html
http://www.toursisaket.com/th/tour.php
http://www.tour-thai.net/northeast/sisaket/main.html
http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต




1 . โทษของอินเทอร์เน็ต

โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งประกาศซื้อขาย
ของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ

  • อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
  • มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
  • ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
  • เติบโตเร็วเกินไป
  • ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อน
  • ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
  • ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
  • ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้ (นั่นจะเป็นเฉพาะการต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial up
    แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะสามารถใช้งานโทรศัพท์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย)
  • เป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร เพื่อก่อเหตุร้าย เช่น การวางระเบิด หรือล่อลวงผู้อื่นไปกระทำชำเรา
  • ทำให้เสียสุขภาพ เวลาที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว
    2 . โรคติดอินเทอร์เน็ต

    โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต

    • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
    • มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
    • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
    • คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
    • ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
    • หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
    • มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย

    ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย
    ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป

    3 . อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

    เทคโนโลยี ที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่นและข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย
    ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ
    หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความ
    เชี่ยว ชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

    แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ ได้แก่

    • Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลกระทบต่อสังคมไอทีเป็นอย่างยิ่ง
    • บุคลากรในองค์กร หน่วยงานใดที่ไล่พนักงานออกจากงานอาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานจนมาก่อปัญหาอาชญากรรมได้เช่นกัน
    • Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัย
      ช่อง โหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ เช่นการสร้างฟอร์มรับส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ไม่ประสงค์อาจจะใช้ฟอร์มนั้นในการส่งข้อมูลกระหน่ำระบบได้
    • Backdoors นักพัฒนาเกือบทุกราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors นั้นได้เช่นกัน
    • CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็นช่องโหว่รุนแรงอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
    • Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหัสแบบ Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวย
      ความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดูรหัสคำสั่ง (Source Code) ก็สามารถตรวจสอบและนำมา
      ใช้งานได้ทันที
    • Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับปรุงเป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไป
      จู่ โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated) ซอตฟ์แวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สายเกินไปเสียแล้ว
    • Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทางบราวเซอร์ แม้กระทั่งรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งบราวเซอร์บางรุ่น หรือรุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถในการเข้ารหัส หรือป้องกันการเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน
    • Malicious scripts จะมีการเขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน อย่างมั่นใจ
      หรือ ว่าไม่เจอปัญหาอะไร อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแฝงในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั้นจะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงานตามที่กำหนดไว้อย่างง่ายดาย โดยที่ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าตนเองเป็นผู้สั่งรันโปรแกรมนั้นเอง
    • Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะกำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมื่อมีการเรียกดูเว็บไซต์ที่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกันที่จะเขียนโปรแกรมแฝงอีกชิ้น ให้ส่งคุกกี้ที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ส่งกลับไปยังอาชญากร
    • ไวรัสคอมพิวเตอร์ ภัยร้ายสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไอทีตั้งแต่เริ่มแรก และดำรงอยู่อย่างอมตะตลอดกาล ในปี 2001
      พบ ว่าไวรัส Nimda ได้สร้างความเสียหายได้สูงสุด เป็นมูลค่าถึง 25,400 ล้าบบาท ในทั่วโลก ตามด้วย Code Red, Sircam, LoveBug, Melissa ตามลำดับที่ไม่หย่อนกว่ากัน

    ปัญหาของโลกไอที มีหลากหลายมาก การทำนายผลกระทบที่มีข้อมูลอ้างอิงอย่างพอเพียง การมีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
    การวางแผน ติดตาม ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ คงจะช่วยให้รอดพ้นปัญหานี้ได้บ้าง


    ที่มาของแหล่งข้อมูล

    1.http://student.swu.ac.th/ed4611116/et452/website/mainpagesub3.html
    2.www.oknation.net/.../images/untitled1111.jpg

บริการต่างๆในอินเตอร์เนต



เครือข่ายอินเตอร์เนต เป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก ในแต่ละเครือข่ายก็จะมีเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งเรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ โฮสต์ (host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ที่เจ้าของเครือข่ายนั้น หรือเจ้าของระบบ คอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น

ใน อดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่อง ข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรม ที่ใช้ในแวดวง การศึกษา วิจัยเป็นหลัก แต่ปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบจะทุกด้านบริการ ต่าง ๆ บนอินเตอร์เนต อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1. บริการด้านการสื่อสาร

  • ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ
  • E-mail กับผู้ใช้อินเตอร์เนตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคนได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและยังสะดวก รวดเร็วทันใจ ด้วย

2. บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ

  • อินเตอร์เนต World Wide Web เป็นบริการที่แพร่หลายและขยายตัวเร็วที่สุด เราสามารถที่จะไปดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์, ธุรกิจ, การ ศึกษา, มหาวิทยาลัย, โรงเรียน ต่าง ๆ
  • ภาพยนตร์ ดนตรี และ อื่นๆ อีกมากมายซึ่งปัจจุบันมีการผนวก รูปภาพ , เสียง , ภาพ เคลื่อนไหว ที่เราเรียกว่าเป็นแบบมัลติมีเดียได้และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือ ข้อมูลอื่นๆ ได้โดยตรง
  • Gopher เป็นบริการค้นหาข้อมูลแบบตามลำดับขั้น ซึ่งมีเมนูให้ใช้งานได้สะดวก ลักษณะการใช้งานจะ คล้ายคลึงกับส่วนของ World Wide Web โดยผู้ใช้สามารถเลือกเข้าไปดูตามหัวข้อที่มีอยู่ลึกลงไปได้อีก แต่ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นในเชิงวิทยาศาสตร์และการวิจัย


  • ที่มาของแหล่งข้อมูล

    1.www.logocheque.com/cheque/embdeded.jpg

    2.http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-9065.html

    การใช้อินเตอร์เนตเบื้องต้น








    การใช้อินเตอร์ในปัจจุบัน







































    ที่มาของข้อมูล






    หนาวแล้ว




    มาทำความรู้จักกัน

    วันนี้เรามีอะไรใหม่ๆมานำเสนอ 555++ อยากรู้ล่ะสิ ต้องติดตาม