RSS

Merry Christmas . Replace this text with your christmas wishes for your visitors .

Clock

เที่ยววัด จังหวัดศรีสะเกษ



















ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่



อำเภออุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ












ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ ริมทางหลวงหมายเลข 226 ห่างจากจังหวัด 26 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร เป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด ลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์บนฐานเดียวกัน เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ก่อด้วยหินทราย มีอิฐแซมบางส่วน มีทับหลังจำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างบนแท่นเหนือหน้ากาล ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ เป็นปรางค์อิฐ มีส่วนประกอบตกแต่งที่เป็นหินทราย เช่น ทับหลัง กรอบหน้าบันและกรอบเสาประตู ด้านหลังปรางค์องค์ทิศใต้มีปรางค์ก่ออิฐอีก 1 องค์ ด้านหน้ามีวิหารก่ออิฐ 2 หลัง ล้อมรอบด้วยระเบียงคตก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีโคปุระหรือประตูซุ้มทั้ง 4 ทิศ ส่วนวิหารที่ก่อด้วยอิฐซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ มีทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่เหนือพระยาอนันตนาคราช ท่ามกลางเกษียรสมุทร และที่วิหารก่ออิฐทางด้านทิศใต้ มีทับหลังรูปพระอิศวรกับพระอุมาประทับนั่งเหนือนนทิ ปัจจุบันปราสาทแห่งนี้อยู่ในความดูแลของกองโบราณคดี กรมศิลปากร และได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่นทับหลังจำหลักภาพศิวะนาฏราช, พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะและยังพบพระพุทธรูปนาคปรก, พระพุทธรูปปางสมาธิ, พระพิมพ์ดินเผา ฯลฯจากหลักฐานลวดลายที่ปรากฏบนหน้าบัน ทับหลัง และโบราณวัตถุต่างๆ โดยเฉพาะจารึกที่หลืบประตูปราสาทสระกำแพงใหญ่ สรุปได้ว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับศิลปะขอมแบบบาปวน เพื่อเป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ และเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ห่างจากตัวจังหวัด 26 กิโลเมตรและห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร








ปราสาทบ้านปราสาท (ปราสาทห้วยทับทัน)อำเภอห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ







ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ปราสาทบ้านปราสาท (ปราสาทห้วยทับทัน) ตั้งอยู่ที่วัดปราสาทพนาราม บ้านปราสาท จากตัวเมืองศรีสะเกษเดินทางไปตามทางหลวงสาย 226 ประมาณ 39 กิโลเมตร ถึงอำเภอห้วยทับทัน แล้วเลี้ยวขวาตามทางลูกรังไปอีก 8 กิโลเมตร ปราสาทห้วยทับทันเป็นโบราณสถาณแบบขอมแห่งหนึ่ง ที่ถูกดัดแปลงในสมัยหลังเช่นเดียวกับปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยเฉพาะส่วนหลังคาซึ่งคล้ายคลึงกันมาก แต่มีขนาดสูงกว่าประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ มีกำแพงล้อมรอบพร้อมซุ้มประตูก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าเดิมมี 3 หรือ 4 ทิศ ปัจจุบันคงเหลือเพียงด้านทิศใต้เท่านั้น ปรางค์องค์กลางขนาดใหญ่กว่าปรางค์อีก 2 องค์ ที่ขนาบข้างเล็กน้อยแต่ส่วนหลังคาเตี้ยกว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง มีประตูเดียวด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีกรอบประตูหินทราย และทับหลังติดอยู่เป็นภาพบุคคลยืนอยู่เหนือหน้ากาล ส่วนท่อนพวงมาลัย มีลายมาแบ่งที่เสี้ยวภาพบุคคลยืนในซุ้มเรือนแก้ว ไม่อาจสันนิษฐานว่าเป็นผู้ใดด้วยลายสลักยังไม่แล้วเสร็จ ปรางค์สององค์ที่ขนาบข้างขนาดเดียวกัน ได้รับการดัดแปลงรูปแบบไปมากโดยเฉพาะส่วนหลังคาและประตูซึ่งก่อทึบหมดทุกด้าน ยังคงปรากฏกรอบประตูหินทราย และชิ้นส่วนทับหลัง สลักภาพการกวนเกษียรสมุทรตกอยู่หน้าประตูปรางค์องค์ที่อยู่ด้านทิศใต้ จากลักษณะทางด้านศิลปกรรมของทับหลังที่ปรากฏอาจสันนิษฐานได้ว่า ปราสาทแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ร่วมสมัยศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวนของเขมร และในสมัยหลังต่อมาได้รับการดัดแปลง การเดินทาง จากตัวเมืองศรีสะเกษ ใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ประมาณ 39 กิโลเมตร ถึงอำเภอห้วยทับทัน แล้วเลี้ยวขวาตามทางอีก 8 กิโลเมตร





ที่มา
http://www.sisaket.go.th/travel/travel.html
http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?showtopic=464

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น