RSS

Merry Christmas . Replace this text with your christmas wishes for your visitors .

Clock

มารู้จักกันนะ

ประโยชน์ของการทำ E-Commerce

ประโยชน์ของการทำ E-Commerce








Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


Online Marketing เป็นช่องทางดำเนินธุรกิจอีกทางหนึ่ง ที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจาก Internet เป็นทั้งเครื่องมือการค้า ช่องทางการจำหน่าย และ ช่องทางโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ได้อย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้น E-Commerce จึงได้พลิกโฉมรูปแบบการค้า และ เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของเรา
ดังนั้น เราจึงไม่ควรมองข้ามตลาดออนไลน์ หรือ E-Commerece ดังกล่าวไปได้เลย เพราะสังคมออนไลน์เติบโตขึ้นทุกวัน การทำงานในรูปแบบ Work at Home ก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นสูง ซึ่งกลุ่มคนออนไลน์เหล่านี้ จะนิยมใช้บริการออนไลน์เป็นอย่างมาก เช่น online banking, ซื้อของออนไลน์, chat, หาเพื่อน, หาคู่เดทออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมของสังคมออนไลน์ดังกล่าว สามารถเพิ่มโอกาสทำรายได้ให้แก่ผู้ทำ E-Commerce ได้อย่างมากเลยทีเดียว
สินค้าที่นิยมนำมา ทำธุรกิจ E-Commerce ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ผู้ซื้อรู้จักอยู่แล้ว ซึ่งลูกค้าเลือกซื้อได้จากทุกที่ เช่น หนังสือ ของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ดอกไม้ เครื่องประดับ เพลง video game ซอฟต์แวร์ ข้อมูลจากซีดีรอม เป็นต้น
ข้อดีของการทำ E-Commerce นั้น ช่วยทำให้ผู้ประกอบการ ประหยัดกว่า การทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ที่ต้องส่ง catalogue ไปให้ลูกค้าเลือกซื้อ หรือ เสียค่าเช่าเปิดบูธแสดงสินค้าในงาน trade show ต่าง ๆ เพื่อโปรโมตสินค้า
ถ้า สร้างเว็บไซต์ E-Commerce บนอินเตอร์เน็ต เพื่อทำเป็นบู๊ธแสดงสินค้าถาวร ที่ลูกค้าสามารถเข้าชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง และ ดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก ซึ่งนับเป็นข้อดีอีกข้อของ การทำ E-Commerce



จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป
ถ้า การสร้างเว็บไซต์ E-Commerce เพื่อทำเป็นร้านค้าออนไลน์ ที่แสดงสินค้า โดยลูกค้าสามารถเข้าชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง และ ดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก ซึ่งนับเป็นข้อดีอีกข้อของ การทำ E-Commerce
แต่ถ้าหากเราไม่อยากสร้างเว็บไซต์ E-Commerce ของตัวเอง ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก เราอาจจะใช้เว็บไซต์สำเร็จรูป ประเภท E-Commerce ช่วยสร้างร้านค้าออนไลน์ ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการทำเว็บไซต์ และ ทำให้สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ ได้อย่างรวดเร็ว
การเปิดร้านค้าออนไลน์ ประเภท E-Commerce เป็นการตลาดที่ลงทุนต่ำ และยังง่ายต่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการ Internet ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และ เวลาสำหรับผู้ซื้อกับผู้ขาย และ ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านขายสินค้า ที่ต้องมีการจดทะเบียนต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร เพียงแค่มีสินค้า และ บริการให้กับลูกค้าเท่านั้น เราก็สามารถดำเนินธุระกิร E-Commerce ได้อย่างง่ายดาย
หากเราไม่อยากจะ สร้างเว็บไซต์ ของตัวเอง ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก เราอาจจะจ้าง บริษัทรับออกแบบเว็บ E-Commerce ช่วย สร้างเว็บไซต์ และ ดูแลเว็บไซต์ ตลอดอายุการใช้งานได้ ซึ่งจะเป็นที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ และ เป็นการง่ายต่อผู้ซื้อในต่างประเทศ ที่จะเลือกซื้อสินค้าได้ ซึ่ง บริการออกแบบเว็บอีคอมเมิร์ซ นี้ ClickBKK เปิดให้บริการอยู่
การทำ E-Commerce เป็นการตลาดที่ใช้ต้นทุนต่ำ เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อธุรกิจกันเลย ง่ายต่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการ Internet ได้ง่ายมาก ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และ เวลาสำหรับผู้ซื้อกับผู้ขาย และ ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านขายสินค้า ที่ต้องมีการจดทะเบียนต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร เพียงแค่มีสินค้า และ บริการให้กับลูกค้าเท่านั้น เราก็สามารถ ดำเนินธุรกิจ E-Commerce ได้อย่างสะดวกสบายแล้ว






แหล่งที่มาของข้อมูล


http://blog.jaideehosting.com/tag


http://www.clickbkk.com/2008/benefits-of-e-commerce.html

ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e-Commerce



ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e-Commerce 5 ขั้นตอน





ขั้นตอนทั้ง 5 นี้ ทำให้รู้ว่าจะพัฒนา e-Commerce .. อย่างไร ขั้นตอน 1 - สำรวจโอกาสทางการตลาดด้วยระบบค้นหาข้อมูล (Search engines) ขั้นตอน 2 - วางแผนการตลาด และพัฒนาเว็บเพจ (Planning and development) ขั้นตอน 3 - นำเว็บเพจเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และจัดตั้งเว็บไซต์ (Install) ขั้นตอน 4 - โฆษณา และประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ (Promotion) ขั้นตอน 5 - ติดตามผล ปรับปรุง และบำรุงรักษา (Evaluation and Maintenance)
ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e-Commerce มี 9 ขั้นตอน
ขั้นตอนทั้ง 9 นี้ มีความชัดเจนที่ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติในทาง e-commerce อย่างมาก
1. แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแล ซึ่งควรจะมี ฝ่ายขาย การตลาด และผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจ
2. วิจัยตลาดโดยผ่านทางระบบค้นหา เพื่อหาช่องว่าง และโอกาสทางการตลาด
3. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เราจะขายสินค้า
4. วางกลยุทธ์ด้านสินค้าว่า จะขายอะไร หรือปรับปรุงอย่างไร ตั้งราคาเท่าใด โดยปรับตามปัจจัย และพฤติกรรมที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อ
5. ทำการพัฒนาเว็บเพจตามที่ได้วางกลยุทธ์ไว้
6. ติดตั้งระบบอีคอมเมิร์ซ เลือกระบบตะกร้า และวิธีการจ่ายเงินที่เหมาะสม
7. จดทะเบียนชื่อโดเมน (อาจจะทำการจดไว้ก่อนตั้ง แต่ขึ้นตอนแรก หากกลัวชื่อที่ต้องการหมด และสามารถตกลงกันได้ว่า จะเอา ชื่อใด) และนำเว็บเพจที่ออกแบบเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
8. ทะเบียนในระบบค้นหา และประชาสัมพันธ์ด้วยวิธี หรือสื่ออื่น
9. ตรวจวัดผลระยะเวลา 1, 3 และ 6 เดือน เพื่อปรับแต่งจนสอดคล้องกับพฤติกรรม





หลากวิธีการเริ่มต้นทำ E-Commerce ที่คุณเลือกได้
Submitted by pawoot on Tue, 06/05/2008 - 16:27
ในการเริ่มต้นทำ E-Commerce ขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ไปยังคนทั่วโลกมีหลายรูปแบบ ท่านสามารถเริ่มต้นได้ด้วยงบลงทุนหลายๆ ขนาด ตั้งแต่เริ่มต้นด้วยไม่ถึงพันบาท จนไปถึง เป็นหลักแสนบาทได้ หรือ จะเริ่มต้นแบบง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลยซักบาท ก็สามารถทำได้ โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ขอบเขตและรูปแบบของ E-Commerce ที่คุณต้องการจะทำ ว่ามีรายละเอียดและการตอบสนองต่อธุรกิจคุณได้มากน้อยแค่ไหน โดยรูปแบบของอีคอมเมิร์ซที่สามารถเริ่มต้นได้อย่างง่ายๆ มีหลายรูปแบบได้แก่

1. การทำ E-Commerce โดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง
สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นขายสินค้าออนไลน์ หรือมีสินค้าจำนวนไม่มากและไม่กี่ประเภท คุณสามารถค้าขายในโลกออนไลน์อย่างง่ายๆ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ของตัวเองเลย เพราะคุณสามารถนำข้อมูลสินค้าหรือบริการของคุณไปลงประกาศไว้ตามเว็บไซต์ที่ให้บริการ ประกาศซื้อ-ขายสินค้าได้ฟรีๆ (E-Classified) หรือตลาดกลางสินค้า (E-Marketplace) เช่น www.ThaiSecondhand.com โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องมีหน้าเว็บไซต์เลย เพราะหลังจากคุณลงประกาศข้อมูลลงไปแล้ว คุณก็จะมีหน้าแสดงข้อมูลสินค้าคุณง่ายๆ ของคุณเอง และข้อมูลประกาศสินค้าชิ้นนั้นก็จะแสดงอยู่ใน เว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งเว็บไซต์ลักษณะนี้จะมีคนเข้ามาเป็นจำนวนมากหลายแสนคน ทำให้คุณมีโอกาสขายสินค้าออกไปยังกลุ่มคนเหล่านี้ได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยซักบาท

บริการลักษณะนี้เหมาะสำหรับใคร?
- ผู้เพิ่งเริ่มต้นและอยากทดลองการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต E-Commerce
- ผู้ที่มีสินค้าที่ไม่มากและไม่กี่ประเภท
- ผู้ที่มีเว็บไซต์อยู่แล้วและต้องการทำโฆษณาขายสินค้าของตนให้คนอื่นๆ รู้จักมากขึ้น

ข้อดี ของการทำอีคอมเมิร์ซโดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
- ฟรี.! ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นทำ
- สะดวก ทำได้ด้วยตัวเองได้ทันที.!
- เข้าถึงคนนับล้านคนได้ทันที เพราะส่วนใหญ่เว็บลักษณะนี้จะมีคนเข้ามาใช้บริการมากอย่แล้ว
- ถ้าขยันประกาศ ทุกวัน หรือไปซื้อโฆษณาประกาศค้างเอาไว้เลย ยิ่งมีโอกาสการขายมากขึ้น

ข้อเสีย ของการทำอีคอมเมิร์ซโดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
- เว็บไซต์ลักษณะนี้จะใส่ข้อมูลสินค้าได้ไม่มากจำกัด และใส่ได้ทีละรายการ
- ต้องเข้ามาลงประกาศอยู่เสมอ เพราะหน้าเว็บไซต์ลักษณะนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา (ทำให้ประกาศสินค้าของคุณหล่นไปอยู่ด้านล่างๆ หรือหายไป ดังนั้นต้องเข้ามาลงประกาศบ่อย ๆเพื่อให้คนเห็นสินค้าของคุณ)
- ไม่มีชื่อเว็บเป็นของตนเอง ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอีกภายหลังได้ยาก ซึ่งหากมี โดเมนเป็นของตนเองจะสะดวกกว่า


2. การมีเว็บไซต์ E-Commerce เป็นของตัวเอง
สำหรับท่านที่มีสินค้าเป็นจำนวนมาก และมีหลายประเภท คุณอาจจะต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง เพื่อใส่ข้อมูลสินค้าที่มีมากมายหลากหลายประเภท อยู่ในเว็บไซต์คุณ เพราะข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้อยู่ในเว็บไซต์คุณทั้งหมด เพื่อสะดวกต่อลูกค้าในการเข้ามาค้นหาสินค้าหรือซื้อสินค้าของคุณ

ข้อดีของการมีเว็บไซต์ เป็นของตัวเอง
- มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง มีชื่อ URL หรือ Domain เป็นของตนเอง ทำให้จดจำได้ง่าย
- ใส่ข้อมูลสินค้าได้มาก ลงลึกในรายละเอียดสินค้าแต่ละรายการ
- สามารถเพิ่มระบบชำระเงินที่สามารถ ชำระเงินผ่านเว็บได้ทันที ผ่านบัตรเครดิตหรือธนาคารโดยตรง
- ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในสิ่งที่คุณต้องการได้ไม่จำกัด

ข้อเสียของการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
- ต้องมีการจัดทำเว็บไซต์ขึ้นมาก สำหรับของคุณโดยเฉพาะ
- ต้องคอยมานั่งดูแล บริหาร จัดการ เว็บไซต์ โดยอาจจะต้องจ้างหรือจัดทำเอง
- บางแห่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำ
- บางครั้งต้องทำการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์เพื่อให้ลูกค้ารู้จักเว็บไซต์ของเรา (ซึ่งใช้เวลา-ค่าใช้จ่าย)

เราสามารถแบ่งรูปแบบของการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ

2.1. ใช้เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูป
เป็นบริการจัดทำเว็บไซต์ที่เตรียมทุกอย่างไว้พร้อมสรรพสำหรับ การค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะคุณสามารถจัดทำและบริหารเว็บไซต์นี้ได้ทันที โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาต่างๆ ในการทำเว็บไซต์เลย เพราะทุกอย่างได้เตรียมพร้อมไว้ให้คุณสามารถจัดการเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย เพียงเข้าไปในระบบ และกรอกข้อมูลสินค้า, ราคา รูปภาพ และรายละเอียดเว็บไซต์ที่คุณต้องการลงไป คลิ๊กๆ ไปตามขั้นตอน เพียงไม่กี่นาทีคุณก็จะได้เว็บไซต์ของคุณเอง ที่พร้อมทำการค้ากับทั่วโลกได้ทันที นับว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการจัดทำเว็บไซต์ และสะดวกสำหรับผู้ที่ไม่ความรู้ด้านการทำเว็บไซต์เลย โดย รูปแบบของเว็บไซต์ลักษณะนี้ มีหลายรูปแบบ ได้แก่

- เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูปออนไลน์พร้อมใช้ทันที
เป็นรูปแบบเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูป ที่ระบบทั้งหมดอยู่บนเว็บไซต์แล้ว คุณสามารถสมัครใช้บริการผ่านเว็บไซต์ได้ทันที และสามารถบริหารข้อมูลสินค้าภายในร้านค้า หรือข้อมูลร้านค้าผ่านเว็บไซต์ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้ง ซอฟแวร์อะไรพิเศษลงไปในเครื่องของคุณเลย ก็สามารถเริ่มต้นมีเว็บไซต์ได้ทันที บางแห่งมีให้บริการแบบฟรี.! เช่น บริการของเว็บไซต์ www.TARADQuickWeb.com หรือบริการแบบเสียเงิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของบริการที่คุณต้องการใช้

- เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูปที่ต้องนำมาติดตั้งก่อนใช้
เป็นรูปแบบซอฟแวร์ที่คุณต้องมีการนำมาติดตั้งในเว็บไซต์คุณก่อน ถึงจะสามารถใช้งานและบริหารเว็บไซต์ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องการ ความรู้ในการติดตั้งซอฟแวร์และระบบฐานข้อมูล (Database) เพื่อเก็บข้อมูลสินค้าต่างๆ ลงในโปรแกรม บางโปรแกรมอาจจะต้องมีการติดตั้งเพื่อเชื่อมโยงกับพื้นที่ๆ เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของคุณ (Hosting) มีทั้งในรูปแบบของซอฟแวร์ฟรี เช่น OS commerce (www.oscommerce.com) และซอฟแวร์เสียค่าใช้จ่ายในการนำมาใช้




เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูปเหมาะสำหรับ
- ผู้ที่ต้องการเริ่มต้น หรือต้องการความสะดวกสะบายในการมีเว็บไซต์
- ผู้ที่ต้องการจัดการบริหารเว็บไซต์ด้วยตัวเอง
- มีเวลาทำจัดทำและบริหารเว็บไซต์

ข้อดี ของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูป.
- มีค่าใช้จ่ายต่ำ หรือบางแห่งฟรี.! (www.TARAD.com)
- มีทุกอย่างพร้อมสำหรับการเริ่มต้นทำ E-Commerce เพราะส่วนใหญ่ได้เตรียมบริการทุกอย่างที่จำเป็นในการเริ่มต้นทำอีคอมเมิร์ซไว้ให้พร้อมทุกอย่างแล้ว
- สามารถบริหารจัดการร้านค้าได้จากทุกแห่งทั่วโลก ด้วยตัวเอง ขอแค่มีเพียงอินเทอร์เน็ตก็สามารถทำได้ทันที
- สร้างโอกาสการขายสินค้าได้สูง เพราะเหมือนกับไปเปิดร้านค้าไว้ในห้างขนาดใหญ่ เพราะผู้ให้บริการบางแห่ง เป็นตลาดนัดกลางขนาดใหญ่ (E-Marketplace หรือ E-Shopping Mall) อยู่แล้ว และซึ่งหากคุณเปิดบริการด้วยแล้ว สินค้าในร้านค้าของคุณจะเข้าไปแสดงในตลาดกลาง ซึ่งมีคนเข้ามาจับจ่ายซื้อของเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว

ข้อเสีย ของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูป.
- มีค่าใช้จ่าย ในการจัดทำ (ยกเว้นบางแห่งให้บริการฟรี.!)
- ปรับรูปแบบเว็บไซต์ให้ตรงกับความต้องการของคุณ 100% ไม่ได้ เพราะเป็นรูปแบบที่มีการทำเตรียมพร้อมไว้สำเร็จรูปแล้ว



2.2. การจัดทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซโดยพัฒนาขึ้นมาใหม่
เป็นรูปแบบการทำเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเป็นไปตามความต้องการของคุณเองเลย เพราะจัดทำเว็บไซต์คุณสามารถควบคุมหรือกำหนดได้ตามความต้องการของคุณทุกประการ ซึ่งคุณสามารถเพิ่มเนื้อหาหรือบริการใหม่ๆ แปลก ที่คุณอาจจะคิดขึ้นมาใหม่ หรือไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน มาอยู่ในเว็บไซต์คุณได้

วิธีการจัดทำเว็บไซต์โดยพัฒนาขึ้นมาใหม่มีหลายวิธีได้แก่

1. พัฒนาด้วยตัวคุณเองหรือคนในองค์กรของคุณ
คุณสามารถพัฒนาเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้อย่างง่ายดายเพราะเดียวนี้ มีเครื่องมือและซอฟแวร์ต่างๆ ที่ช่วยทำให้การทำเว็บไซต์ของคุณเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น รวมถึงความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำเว็บไซต์มากมาย ที่คุณสามารถหาศึกษาได้อย่างง่ายดายรอบตัวคุณ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ ที่ซึ่งมีอยู่เต็มไปหมดในร้านหนังสือ หรือ ซีดี ที่สอนเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ โดยเป็นวีดีโอสอนการทำเว็บทีละขั้นตอน ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการทำจริงๆ ได้เลย หรือ แม้แต่ในเว็บไซต์หลายๆ แห่งก็มี ข้อมูลและวิธีสอนการทำเว็บไซต์ อยู่มากมายในอินเทอร์เน็ต ที่คุณสามารถหาอ่านได้อย่างฟรีๆ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีข้อมูลการสอนการทำเว็บไซต์ www.ThaiDev.com, www.Sansukhtml.com, www.twebmaster.com เป็นต้น
สำหรบบางบริษัทหรือองค์กร อาจจะมีการจัดให้เจ้าหน้าที่ในองค์กรที่พอจะมีความรู้ในการทำเว็บไซต์ รับหน้าที่ในการดูแลและจัดทำเว็บไซต์ให้ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดการและบริหารเว็บไซต์ของคุณก็สามารถทำได้


2. จ้างผู้เชี่ยวชาญ หรือบริษัทมาพัฒนาให้
หากท่านไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำเว็บ หรือไม่มีเวลามาคอยนั่งพัฒนาเว็บไซต์ให้ได้ตรงกับความต้องการของคุณ คุณก็สามารถ ใช้วิธีหาผู้เชียวชาญหรือบริษัทที่รับทำเว็บไซต์ มาพัฒนาเว็บไซต์ให้กับคุณได้ โดยผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทส่วนใหญ่จะมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเว็บไซต์อยู่แล้ว ซึ่งรูปแบบของผู้รับพัฒนาเว็บไซต์มีหลายรูปแบบ ได้แก่

a. นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ (Student)
เดียวนี้นักเรียนหรือนักศึกษาบางคน เริ่มมีความรู้ความสามารถในการทำเว็บไซต์ตั้งแต่เด็กๆ ท่านสามารถให้นักศึกษาและนักเรียนเป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ให้กับคุณได้ แต่ด้วยการที่ให้เด็กเป็นผู้พัฒนา คุณอาจจะต้องพอมีความรู้ในการพัฒนาเว็บไซต์อยู่บ้าง และต้องพยายามควบคุมเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ด้วยตัวคุณเองอย่างใกล้ชิด

ข้อดี ของการให้นักศึกษามาพัฒนาให้
- ค่าใช้จ่ายในการรับพัฒนามีราคาไม่แพงมากนัก
- สามารถหานักเรียนนักศึกษาได้ง่าย อาจจะหาจากสถาบันการศึกษาใกล้บ้าน หรือญาติพี่น้องใกล้ตัว
ข้อเสีย ของการให้นักศึกษามาพัฒนาให้
- รูปแบบของเว็บไซต์อาจจะดูไม่เป็นโปรเฟสชั่นนอลมากนัก
- ประสบการณ์ในการทำงานและการแก้ปัญหาน้อย
- อาจมีการบอกเลิกการทำงานหรือการหนีงานเกิดขึ้น (เพราะมีความรับผิดชอบไม่มาก)

B. นักพัฒนาอิสระ (Freelancer)
ท่านสามารถหานักพัฒนาอิสระมาช่วยพัฒนาเว็บไซต์ให้กับคุณได้ โดยลักษณะของนักพัฒนาอิสระหรือฟรีแลนซ์ จะมีความเชี่ยวชาญ ในการพัฒนา แต่อาจจะทำงานอิสระหรือทำงานอยู่ในองค์กรอื่นๆ แต่ใช้เวลานอกการทำงาน มารับพัฒนาเว็บไซต์ให้กับคุณ ซึ่งคุณสามารถหาฟรีแลนซ์ได้ตามเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านี้ เช่น www.Rookienet.com, www.Webmaster.or.th, www.ThaiFreelanceBid.com เป็นต้น

วิธีการคัดเลือกฟรีแลนซ์มาพัฒนาเว็บไซต์ให้กับคุณ
1. พยายามหาฟรีแลนซ์หลายๆ เพื่อมาเปรียบเทียบราคาและ รูปแบบของผลงาน
2. ดูผลงานที่ฟรีแลนซ์ เคยทำมาว่ามีความเชี่ยวชาญตรงกับเว็บไซต์ที่คุณจะให้ทำหรือไม่
3. ศึกษารูปแบบและเวลาในการทำงานว่าตรงกับความต้องการของคุณหรือไม่?
4. อาจจะให้ฟรีแลนซ์ ลองร่างคอนเซป์(Concept) หรือ รูปแบบของเว็บไซต์ ที่จะทำให้คุณเห็นก่อน
5. กำหนดราคาในการจัดทำและการดูแลเว็บไซต์หลังจากส่งมอบงานแล้ว
6. อาจจะมีการร่างสัญญาในการทำงานเพื่อที่จะเป็นข้อตกลงร่วมกันในการทำงาน

ข้อดี ของการให้นักพัฒนาอิสระเป็นผู้พัฒนาให้
- มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเว็บ
- ผลงานที่ออกมามีความเป็นโปรเฟสชั่นนอล (ไม่ทุกคนนะครับ ต้องเลือกดูดีๆ ก่อน)
- ราคาสามารถเลือกได้ตามควรต้องการ

ข้อเสีย ของการให้นักพัฒนาอิสระเป็นผู้พัฒนาให้
- บางครั้งอาจจะเกิดการหนีงานเกิดขึ้นได้ (ต้องพยายามดูให้ดี)
- การแก้ใขงานในครั้งต่อไป อาจจะมีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (หากไม่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก)
- ต้องดูความเชี่ยวชาญของแต่คนว่ามีความถนัดด้านใด เพราะหาคนทำไม่ตรงกับงานที่คุณต้องการ อาจจะทำให้งานออกมาไม่ดี

C. บริษัทรับจัดทำเว็บไซต์ (Web Development Company)
หากท่านต้องการเว็บไซต์ที่ออกแบบด้วยมืออาชีพ ทั้งในรูปแบบและการให้บริการ ท่านควรจะเลือกใช้บริการกับ บริษัทที่ให้บริการจัดทำเว็บไซต์ เพราะบริษัทเหล่านี้จะมีผู้เชี่ยวชาญ ในการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำ อีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปแบบและจริงๆ จัง หรือผู้ที่เป็นลักษณะรูปแบบองค์กรขนาดใหญ่ เพราะบริษัทเหล่านี้สามารถ รับทำเว็บไซต์ตามความของคุณได้ทุกรูปแบบ และความต้องการของคุณ พร้อมด้วยประสบการณ์ในการทำงาน ของคุณมีคุณภาพและยังมีความน่าเชื่อถือมากกว่าแบบอื่นๆ เพราะด้วยรูปแบบการทำงานที่เป็นบริษัท

ข้อดี ของการให้บริษัทรับจัดทำเว็บไซต์ให้
- มีความสวยงามตามความต้องการอย่างไร สามารถทำได้ตามความต้องการของคุณ (แต่คนทำต้องทำได้ด้วยนะครับ)
- สามารถทำงานที่มีความซับซ้อนได้ เช่นการมีโปรแกรมจัดการต่างๆ
- มีความน่าเชื่อถือและสามารถติดตามงานได้ เพราะมีตัวตนที่แน่นอน

ข้อเสีย ของการให้บริษัทรับจัดทำเว็บไซต์ให้
- มีค่าใช้จ่ายสูง ในจัดทำ หรือดูแลเว็บไซต์
- ทำการแก้ใขข้อมูลในเว็บไซต์ทำได้ยากและลำบาก เพราะการแก้ไขอาจจะต้องให้บริษัทเป็นผู้แก้ไขให้ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายอาจมีขั้นตอนที่มากกว่า และอาจจะใช้เวลามาก

สรุป
สำหรับท่านที่อยากจะเริ่มต้นทำอีคอมเมิร์ซ ในการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต อาจเริ่มต้นจาก การนำสินค้าหรือบริการของตนไปประกาศขายในเว็บไซต์ประกาศซื้อ-ขาย ในช่วงเริ่มต้นเพราะไม่ต้องลงทุนและมีค่าใช้จ่ายอะไรเลย พอเริ่มมีลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเข้ามามากขึ้น และเริ่มมีสินค้ามากขึ้น การเริ่มขยับไปสู่การมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง ในการค้าขาย ซึ่งอาจจะเลือกเป็นแบบเว็บไซต์สำเร็จรูป หรือเว็บที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพราะจะสามารถรองรับลูกค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในการทำการค้าผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต


แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.pawoot.com/node/117
http://blog.spu.ac.th/FutureCareer/2007/11/26/entry-21

มารู้จักกับ e-commerce กัน

E-Commerce นิยามและความหมาย
Source - Department of Industrial Promotion (Th/Eng)
Wednesday, March 12, 2003 11:29
28176 XTHAI XECON XGOV XITBUS XLOCAL V%GOVL P%DIP

ปัจจุบันคงจะไม่มีใครบอกว่าไม่เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ E-Commerce มาเลยบางท่านที่เคยได้ยินแต่ไม่ได้สนใจถือว่าเป็นเรื่องไกลตัว อันที่จริง ท่านผู้รู้ได้กล่าวว่า ในอนาคต E-Commerce จะเข้ามาพลิกโฉมทางการค้าและเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของเรา และห้างสรรพสินค้าอาจจะไม่มีความจำเป็นแล้วเพราะต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่จะหันมาใช้ห้างสรรพสินค้า E-Commerce ซึ่งกำลังเป็นที่ตื่นตัวกันอย่างมากในอเมริกา ดังนั้น เมื่อ E-Commerce มีบทบาทมากขนาดนี้ เราจะมองข้ามเสียไม่ได้
ความหมายของ E-Commerce
E-Commerce ย่อมาจาก Electronic Commerce หรือที่เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การประกอบธุรกิจการค้าผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ หรือ คอมพิวเตอร์
ซึ่งเป็นช่องทางที่มีความสำคัญที่สุดในปัจจุบัน โดยมีระบบอินเตอร์เน็ตเป็นสือกลางในการเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายให้สามารถทำการค้ากันได้
ประเภท และรูปแบบ
E-Commerce สามารถแบ่งได้หลายลักษณะ ที่รู้จักกันทั่วไป มี 3 ประเภท คือ
B - To - C ย่อมาจาก Business to Business เป็นการซื้อขายสินค้าระหว่างธุรกิจด้วยกันเอง เช่น ผู้ผลิตขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก ชำระเงินผ่านระบบธนาคารด้วยการเปิด L/C
B - To -C ย่อมาจาก Business to Consumer เป็นการขายปลีกให้กับผู้บริโภค ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ส่วนใดของโลกชำระเงินผ่านระบบบัตรเครดิต การขายแบบนี้จะเข้ามาแทนที่การขายแบบ Direct Mail
C - To - C ย่อมาจาก Consumer to Consumer เป็นการขายปลีกระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือผู้ใช้อินเตอร์เน็ตด้วยกัน เช่น การขายซอฟต์แวร์ที่ตนพัฒนาขึ้นมา หรือการประมูลของที่ใช้แล้ว
ประโยชน์จาก E-Commerce
สินค้าที่ต้องการจำหน่ายผ่านทางอินเตอร์เน็ตจะเป็นสินค้าที่รู้จักของผู้ซื้ออยู่แล้ว หรือสินค้าขายปลีกทั่วๆ ไป ที่ลูกค้าเลือกซื้อได้จากทุกมุมโลก เพียงแต่คลิกเม้าท์เท่านั้น เช่น ผู้จำหน่ายหนังสือ ของเล่นอุปกรณ์ไฟฟ้า สินค้าที่สะดวกในการขนส่ง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ สินค้าส่งออกที่มีจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว สินค้าที่มีเอกลักษณ์ของไทย เช่นผ้าไหม สินค้าหัตถกรรมเซรามิค เครื่องประดับ ซึ่งใช้ E-Commerce จะประหยัดกว่าการทำธุรกิจแบบเดิม ที่ต้องส่งแคตาล๊อกไปให้ลูกค้าหรือไปเช่าบู๊ทในงานแสดงสินค้าในประเทศต่างค่าใช้จ่ายสูงมาก ถ้าสร้างเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต ทำเป็นบูทถาวรที่ลูกค้าเข้าชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสินค้าที่สามารถส่งมอบทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น เพลง วิดีโอเกม ซีดีรอม เมื่อลูกค้าชำระเงินเรียบร้อยก็กาวน์โหลดสินค้าเหล่านั้นเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของตัวเองที่เชื่อมต่อกันกับอินเตอร์เน็ตหรือธุรกิจที่มีบริการขนส่งสินค้าของตนเองอยู่แล้ว เช่น ร้านเบเกอรี่ ร้านดอกไม้ ซึ่งลูกค้าอยู่ต่างประเทศสามารถส่งสินค้าถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ หรือ เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น จองตั๋วเรือบิน จองแพ็คเกจทัวร์ จองโรงแรม โดยผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น
เขาเริ่มต้นธุรกิจ E-Commerce ได้อย่างไร
1. วิเคราะห์ดูว่าเรามีสินค้าอะไร ใครคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเรา ซึ่งจะต้องเป็นผู้ใข้อินเตอร์เน็ตและเราจะเลือกทำธุรกิจ E-Commerce ในรูปแบบใดใน 3 แบบข้างต้น เพราะถ้าสินค้าที่เราขายไม่ใช่กลุ่มใช้อินเตอร์เน็ตก็หมายถึงตลาดไม่เหมาะสมกับกลุ่มนอกจากนั้นต้องวิเคราะห์คู่แข่งขัน ซึ่งหาข้อมูลคู่แข่งขันได้จาก Web Site ของคู่แข่ง แล้วเปิดเข้าไปดูว่าเขาจัดรูปแบบหน้าร้าน ตั้งราคาสินค้า การจัดส่งสินค้าการส่งเสริมการขาย ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดของคู่แข่งเรานำมาปรับใช้กับธุรกิจของเรา
2. โฆษณาเผยแพร่สินค้าให้เป็นที่รู้จัก โดยจัดทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ แคตาล๊อค อธิบายรายละเอียดสินค้าพร้อมคุณสมบัติของสินค้า บริการขนส่งในการซื้อขาย นโยบายการคืนสินค้าและคืนเงิน สกุลเงินที่ใช้ หรือลง ทะเบียนไว้ในระบบค้นหากับเว็บไซต์ทีมีชื่อเสียงเปิดให้บริการอยู่เป็นค่าใช้จ่ายที่ถูก และ สามารถแสดงภาพ 3 มิติ เคลื่อนไหวได้ มีบรรยายประกอบ เปิดให้ชมได้ 24 ชั่วโมง
ถ้าหากมีสินค้าหลายชนิด และประสบความสำเร็จในการขายบ้างแล้ว ก็อาจทำร้านค้าทางอินเตอร์เน็ต ด้วยการสร้าง Web Site ของตนเองโดยดำเนินการต่อไปนี้
1. จดทะเบียนชื่อร้าน หรือที่เรียกว่า Domain Name ซึ่งเท่ากับเสมือนยี่ห้อสินค้าของเราและสร้าง Web Site
2. เช่าพื้นที่เว็บไซต์โดยต้องคิดว่าถ้าขายออกต่างประเทศก็เช่าต่างประเทศ แต่ถ้าขายในประเทศก็เช่าในไทย
3. ติดตั้งระบบป้องกันข้อมูล และติดต่อธนาคารขอรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบชำระเงิน
4. โฆษณา Web Site ให้ลูกค้ารู้จัก โดยโฆษณาตาม Banner ของ Web Site ต่างๆ หรือลงทะเบียนไว้ในระบบค้นหาข้อมูลกับ Web Site ที่มีชื่อเสียงเช่น Yahoo, Altavista ฯลฯ
5. เตรียมติดต่อบริษัทขนส่งเพื่อส่งมอบสินค้า
6. ศึกษาแบบชำระเงิน ซึ่งอาจมีอยู่หลายวิธีดังนี้ ผ่านธนาคาร เช่น เปิด L/C สำหรับการส่งออกหรือชำระด้วยบัตรเครดิต ก็ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยในการชำระเงิน โดยหารือกับธนาคารต่างๆ
* ชำระเงินต่างระบบธนาคาร เช่น เปิด L/C สำหรับส่งออก
* ชำระด้วยบัตรเครดิต ก็ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยในการชำระเงิน โดยต้องหารือกับธนาคาร
* การโอนเงินเข้าบัญชี ซึ่งใช้กับผู้ซื้อของจำนวนมาก และไม่ต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเนื่องจากกลัวไม่ปลอดภัย วิธีทำก็คือ เมื่อสั่งซื้อก็โอนเงินบัญชีผู้ขาย พร้อมส่งแพ็ค หรืออีเมลใบสั่งซื้อและใบเสร็จโอนเงินให้ผู้ขายแล้วผู้ขายก็จัดส่งสินค้ามาให้วิธีนี้ผู้ขายได้เปรียบ
* เงินสด ใช้บริการของบริษัทขนส่งสินค้าชั้นนำทั่วไป ให้ส่งสินค้าให้แล้วเก็บเงินปลายทางซึ่งผู้ซื้อยังไม่ต้องจ่ายเงินจนกว่าจะได้รับสินค้า วิธีนี้สะดวกกับผู้ซื้อ แต่ผู้ขายมีความเสี่ยง อาจถูกยกเลิกการซื้อ ทำให้ผู้ขายเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
* เซ็นเช็คจ่ายเงินผ่ายทางเว็บ คือ ใช้เช็คจ่ายเงินผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยหลังซื้อสินค้าแล้วก็เลือกจ่ายเงินผ่านทางเช็ค ก็จะมีเช็คเปล่าให้เรากรอกรายละเอียดลงไป ถือว่าเสร็จเรียบร้อย วิธีนี้นิยมใช้เฉพาะอเมริกา
7. ต้องมีการปรับปรุงติดตามผลหลังจากการขายสินค้า หรือบริการ และเก็บเงินแล้ว มีหลายท่านคิดว่าเสร็จสิ้นการทำธุรกิจแบบ E- Commerce การคิดเช่นนั้นถือว่าเป็นความคิดที่ผิด อันที่จริงการทำธุรกิจ E - Commerce พึ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น ต้องมีการปรับปรุงร้านค้า หรือ Web Page ของเราอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีบริการหลังการขาย เช่น ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการขายสินค้านั้น หรือเปิดอีเมล์เพื่อให้ลูกค้าติ - ชม มีข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นช่องทางทำตลาดให้กับสินค้าตัวใหม่ และสร้างสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าเก่า
ลักษณะเด่นของ E-Commerce
1. เป็นการค้าที่ไร้พรมแดน ไม่มีการแบ่งทวีปหรือประเทศ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทาง และการเดินทาง ท่านสามารถที่จะซื้อสินค้าจากร้านหนึ่ง และเดินทางไปซื้อสินค้าจากร้านอีกร้านหนึ่งซึ่งอยู่คนละทวีปกันได้ ในเวลาเพียงไม่กี่นาที
2. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขนาดใหญ่ทั่วโลก ฐานผู้ซื้อขยายกว้างขึ้น
3. คุณสามารถทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงและเปิดได้ทุกวันโดยไม่วันหยุด
4. คุณไม่มีความจำเป็นต้องจ้างพนักงานขายเพราะเจ้า E-Commerce จะทำการค้าแบบอัตโนมัติให้คุณ ไม่ต้องมีสินค้าคงคลังหรือมีก็น้อยมาก
5. คุณไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกแถว เพื่อใช้เป็นร้านค้า เพียงแค่สร้าง Web Site ก็เปรียบเสมือนร้านค้าของคุณแล้ว ไม่ต้องเสี่ยงกับทำเลที่ตั้งของร้านค้า
6. E-Commerce สามารถเก็บเงิน และนำเงินฝากเข้าบัญชี ให้คุณโดยอัตโนมัติ
อุปสรรคของการทำ E-Commerce
1. ความเสี่ยงจากการที่ยังไม่มีกฎหมายมารองรับการค้าแบบ E-Commerce เพราะฉะนั้นเราควรเขียนคำบรรยายถึงขอบเขตในการรับผิดชอบของเราทีมีต่อลูกค้าให้ชัดเจน เช่น ซื้อสินค้าแล้วไม่รับคืนก็ต้องแจ้งลูกค้าให้เข้าใจ
2. ไม่มีการกำหนดมาตรฐานในด้านภาษีเนื่องจากยังไม่มีกฎหมายมารองรับ
3. ปัญหาในการจัดส่งสินค้าที่ไม่สะดวกรวดเร็ว หรือสินค้าชำรุดเสียหาย ซึ่งได้แก่ พวกสินค้าที่เป็นของสด เช่น อาหาร หรือดอกไม้ สินค้าเหล่านี้ อาจเสียหาย หรือเสื่อมสภาพ เน่าเสีย จากระยะเวลา ในการขนส่งได้
4. ปัญหาจากการขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูงเช่น อัญมณีต่างๆ บริษัทขนส่งมักจะไม่ยินดีที่จะรับส่งของเหล่านี้ เนื่องจากโอกาสสูญหายได้ง่าย
5. การทุจริตฉ้อโกง เช่น การปลอมบัตรเครดิต
6. ไม่แน่ใจผู้ขายเป็นผู้ประกอบการที่ปฎิษัติธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และน่าเชื่อถือเพียงใด
7. ทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
8. ผู้ขายยังไม่มั่นใจว่าตัวตนจริงของลูกค้าจะเป็นบุคคลคนเดียวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ นั่นคือผู้ขายไม่มั่นใจว่า ผู้ซื้อมีความสามารถจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการหรือไม่
ที่มา : หนังสือก้าวสู่ความเป็นผู้ประกอบการโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม






หลักการด้านอีคอมเมิร์ซ





พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซคือ การค้าขายผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เนต อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิถีทางการดำรงชีวิตของทุกคน อินเตอร์เนต จะเปลี่ยนวิธีการศึกษาหาความรู้ อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการทำมาค้าขาย อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการหาความสุขสนุกสนาน อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมกันเข้ามาหาอินเตอร์เนต กล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้ถ้าบริษัทห้างร้านใดไม่มีหน้าโฮมเพจในอินเตอร์เนตบริษัทห้างร้านนั้นก็ไม่มีตัวตน นั่นคือไม่มีใครรู้จัก เมื่อไม่มีใครรู้จักก็ไม่มีใครทำมาค้าขายด้วย แล้วถ้าไม่มีใครทำมาค้าขายด้วยก็อยู่ไม่ได้ต้องล้มหายตายจากไป ว่ากันว่าอินเตอร์เนตคือแหล่งข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้า ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายผู้ผลิต ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการที่จะซื้อสินค้ากันมากขึ้น เช่นการเข้าไปเลือกซื้อจากในเว็บไซต์ มีการเข้าไปเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนที่จะซื้อ หากจะกล่าวว่า “ข่าวสาร” คืออำนาจ ในปัจจุบันนี้ผู้บริโภคก็ได้รับการติดอาวุธอย่างใหม่ที่มีอำนาจมากพอที่จะต่อรองกับผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสินค้าได้ผลดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาและพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ในการทำอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นเว็บเพจหรือช่องทางการจำหน่ายสินค้า แต่อีคอมเมิร์ซยังมีความหมายรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับผู้บริโภค และผู้ค้าส่ง สำนักวิจัยไอดีซี (IDC) ได้ประมาณรายได้ของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (B-to-B) ว่าเพิ่มขึ้นจาก 80 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3,200 พันล้านบาทในปี พ.ศ. 2542 เป็น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 40 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2546




คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซ







คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซนั้นได้มีผู้ให้นิยามไว้ต่างๆ กันอันเนื่องมาจากมองในแง่มุมที่แตกต่างกัน ถ้าถามอาจารย์สามคนว่าอีคอมเมิร์ซคืออะไร ก็คงได้คำตอบสี่คำตอบ คือแต่ละคนให้คำตอบคนละคำตอบ แล้วเมื่อมาประชุมปรึกษาหารือกันก็ตกลงกันเป็นอีกคำตอบหนึ่ง ถ้าถามนักอินเตอร์เนตหรือที่เรียกกันว่าอินเตอร์นอต (Internaut แบบเดียวกับ Asternaut) ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือระบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตถ้าถามนักสื่อสารก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการใช้ระบบสื่อสารในการส่งโฆษณา สินค้าและบริการไปให้ลูกค้า การใช้ระบบสื่อสาร โดยลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและการจ่ายเงิน ถ้าถามผู้ให้บริการก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการให้บริการให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ให้บริการผู้ซื้อได้ดูโฆษณาเลือกหาสินค้า และให้บริการเจ้าของกิจการได้ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า ถ้าถามนักเทคโนโลยี ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าขาย สรุปอย่างง่ายๆ โดยสังเขปก็อาจจะได้ความว่า อีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบการจัดตั้งร้านค้าหรือทำหน้าโฆษณาที่เรียกว่าโฮมเพจหรือเว็บเพจบนอินเตอร์เนต (2) ผู้ซื้อเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในอินเตอร์เนต (3) ผู้ซื้อติดต่อสอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย เช่น ของดีจริงหรือไม่ ส่งได้รวดเร็วเท่าใด มีส่วนลดหรือไม่ เป็นต้น (4) ผู้ซื้อสั่งสินค้าและระบุวิธีจ่ายเงิน เช่น โดยผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น (5) ธนาคารตรวจสอบว่าผู้ซื้อมีเครดิตดีพอหรือไม่และแจ้งให้ผู้ขายทราบ (6) ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ (7) ผู้ซื้ออาจจะใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อขอบริการหลังการขายจากผู้ขาย้
ประวัติวิวัฒนาการอีคอมเมิร์ซโดยสังเขป
การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้นหลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเตอร์เนตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้น เหตุผลที่ทำให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วย พอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่างๆ ในอเมริกาได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย




ประเภทของอีคอมเมิร์ซ




มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้
(1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เนต (2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เนต (3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ (4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง (5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้
อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้ ้
(1)อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้ - การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น - การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น - ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เนตได้โดยสะดวก (2)อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ - การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น - การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ - การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น (3)อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce) ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้ - การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ - การจัดการสินค้าคงคลัง - การจัดส่งสินค้า - การจัดการช่องทางขายสินค้า - การจัดการด้านการเงิน
อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้
(1)การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท (2)การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เนตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เนตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ (3)อินเตอร์เนตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เนต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง (4)โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เนต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เนตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ (6) การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เนต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ (7) ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ (RSA = Rivest, Shamir and Adleman) ดีอีเอส (DES= Data Encryptioon Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภทสินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
(1)สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เนต (2)สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์
แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ คือ
(1) Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าเพราะลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม (2) Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท (3) Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน






- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้ - Electronic commerce, commonly known as e-commerce or eCommerce, consists of the buying and selling of products or services over electronic systems such as the Internet and other computer networks. The amount of trade conducted electronically has grown dramatically since the wide introduction of the Internet. A wide variety of commerce is conducted in this way, including things such as electronic funds transfer, supply chain management, e-marketing, online marketing, online transaction processing, electronic data interchange (EDI), automated inventory management systems, and automated data collection systems. Modern electronic commerce typically uses the World Wide Web at at least some point in the transaction's lifecycle, although it can encompass a wide range of technologies such as e-mail as well.
กระบวนการพื้นฐาน (Basic Process) เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
ลูกค้า ชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)
ลูกค้า รอรับสินค้า จากผู้จำหน่าย (Shipping)
e-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจได้หลายด้าน เรียบเรียงจาก e-Commerce และกลยุทธ์การทำเงิน โดย วัชระพงศ์ ยะไวทย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด หน้า 20
ทำงานแทนพนักงานขายได้ โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้เปิดหน้าร้านขายของ ให้คนทั่วโลกได้ และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดตลอด 24 ชั่วโมง
เก็บเงิน และนำฝาก เข้าบัญชีให้คุณได้โดยอัตโนมัติ
ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์แคตาล็อก (กระดาษ) ออกมาเป็นเล่ม ๆ และไม่ต้องมาเสียเงิน และเวลาในการจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์อีก
แทนได้ทั้งหน้าร้าน (Showroom) หรือบูท (Booth) แสดงสินค้าของคุณที่มีคนทั่วโลกมองเห็น ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
แทน และเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารธุรกิจ ภายในของเราได้อีกมากมาย
หัวข้อให้คิด ที่ส่งผลให้การทำ e-Commerce สำเร็จ
สำรวจ (Research) :: สำรวจตลาดบ่อยเพียงใด เพื่อประเมินคู่แข่ง ตนเอง และลูกค้า
วางแผน (Planning) :: กำหนด Gantt chart เพื่อติดตั้งระบบ แผนลงทุน และแผนคืนทุน
เงินทุน (Loan) :: ต้องใช้เงินทุนทั้งหมดเท่าไร หาได้ที่ไหน คืนอย่างไร
จ่ายเงิน (Payment) :: แผนรับชำระเงิน เช่น โอนผ่านตู้เอทีเอ็ม พกง. เพย์พาล เคาน์เตอร์ธนาคาร ดร๊าฟธนาคาร บัตรเครดิต ตั๋วเงินรับ เช็คส่วนบุคคล การโอนทางโทรเลข
ขนส่ง (Transport) :: สินค้าจะจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าอย่างไร เช่น Fedex, DHL, Logistic เป็นต้น
สินค้า (Product) :: ความน่าสนใจของสินค้า ขายแล้วจะมีคนซื้อ หรือไม่
ราคา (Price) :: ราคาที่จะส่งผลถึงกำไร จากการสั่งซื้อแต่ละครั้งมากพอ หรือไม่
สถานที่ (Place) :: ขายให้คนไทย หรือต่างชาติ ที่พักสินค้า ร้านตั้งที่ไหน
โฆษณา (Promotion) :: มีแผนโฆษณาอย่างไร และจะใช้วิธีการใดบ้าง
คลังสินค้า (Stock) :: ระบบจัดการคลังสินค้า ควบคุมอย่างไร
เวลา (Time) :: ประเมินระยะเวลาตั้งแต่สั่งซื้อ ส่งสินค้า และได้รับเงิน ทั้งหมดกี่วัน
ผิดพลาด (Error) :: ส่งไปแล้วไม่มีผู้รับ ไม่ได้รับเงิน ส่งไม่ทัน ไม่ได้มาตรฐานทำอย่างไร
สำนักงาน (Office) :: มีพนักงานกี่คน ลงทุนอะไรบ้าง ที่ตั้งสำนักงาน และแหล่งสินค้า
หีบห่อ (Package) :: คำสั่งซื้อจะมาพร้อมรูปแบบสินค้า และลักษณะหีบห่อ ยืดหยุ่นหรือไม่
เทคนิค (Technique) :: รายละเอียดของระบบที่ใช้ เพื่อให้เกิดการซื้อขายได้ เป็นแบบใด
ออกแบบ (Design) :: ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือหน้าร้านได้น่าสนใจหรือไม่
ความปลอดภัย (Security) :: ทุกระบบต้องรองรับการโจมตีจากผู้ไม่หวังดีได้ทุกรูปแบบ
ขนาด (Size) :: ขนาดระบบ เช่น รองรับจำนวนลูกค้า การสั่งซื้อ หรือสินค้าได้เพียงใด
การควบคุม (Controlling) :: การควบคุมกระบวนการทั้งหมด ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้อง
สำรอง (Backup) :: แผนสำรองข้อมูล ในกรณีที่ระบบล้ม หรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ยกเลิก
ภาษี (Tax) :: เข้าใจกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ในประเทศ และกฎหมาย
ด้าน IT



แหล่งที่มาของข้อมูล

http://thaiall.com/article/ecommerce.htm

http://library.dip.go.th/multim/edoc/09647.doc

วันครู

วันครู

ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
ความเป็นมา

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน
คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น

บทสวดเคารพครูอาจารย์


คาถา ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)
(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ
ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์
ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา
แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี
แก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ


ข้าขอประนมกระพุ่ม อภิวาทนาการกราบคุณอดุลคุรุประทาน หิตเทิดทวีสรรสิ่งสมอุดมคติประพฤติ นรยึดประครองธรรม์ครูชี้วิถีทุษอนันต์ อนุสาสน์ประภาษสอนให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน นะตระการสถาพรท่านแจ้งแสดงนิติบวร ดนุยลยุบลสารโอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร ทะนุศิษย์นิรันดร์กาลไปเปื่อก็เพื่อดรุณชาญลุฉลาดประสาทสรรพ์บาปบุญก็สุนทรแถลง ธุระแจงประจักษ์ครันเพื่อศิษย์สฤษฎ์คตจรัล มนเทิดผดุงธรรมปวงข้าประดานิกรศิษ (ษ) ยะคิดระลึกคำด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ อนุสรณ์เผดียงคุณโปรดอวยพรสุพิธพรอเนก อดิเรกเพราะแรงบุญส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน- ทรศิษย์เสมอเทอญฯ

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันครู




1. ร่วมกิจกรรมทางศาสนา ทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แกบรรดาบูรพาจารย์ผู้ล่วงลับ
2. ส่งบัตรอวยพร หรือไปเยี่ยมเยือนครูอาจารย์ที่เคยให้ความรู้อบรมสั่งสอน เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดี และแสดงความกตัญญูกตเวที
3. ร่วมพิธีบูชาบูรพาจารย์
4. ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เช่น นิทรรศการเกี่ยวกับครู การเรียนการสอน หรือกิจกรรมการกุศลที่หารายได้สมทบกองทุนช่วยเหลือครู เป็นต้น


ภาพกิจกรรมวันไหว้ครู



แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.zabzaa.com/event/teacher.html

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/samutsongkhram/nittaya_a/day/s3p6.htm

บรรยากาศงานปีใหม่ประเทศต่างๆ

บรรยากาศปีใหม่ทั่วโลก




เทศกาลปีใหม่ ของญี่ปุ่น




เริ่มกันที่ คาโดมัทสึ ของตกแต่งวันปีใหม่ ซึ่งชื่ออาจฟังดูเข้าใจยากสักหน่อย แต่เจ้าสิ่งนี้นั้น ถูกนำมาเพื่อใช้ต้อนรับวิญญาณบรรพบุรุษและเทพเจ้าแห่งปี เพื่อเป็นการขอพรให้มีอายุยืนยาว มีความเจริญรุ่งเรือง และให้มีความมั่นคงในชีวิต โดยเจ้าสิ่งนี้ จะวางไว้ที่หน้าประตูบ้าน อาจจะข้างเดียวหรือ 2 ข้างของประตูก็ได้ ( ความเชื่อแฝงเกี่ยวกับฮวงจุ้ย ) คาโดมัทสึนั้นประกอบด้วยกิ่งสนใหญ่ ไม้ไผ่ และช่อดอกบ๊วย ซึ่งช่อดอกบ๊วยถือเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าแห่งปี ซึ่งขอย้อนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคะโดะมัทซึอีกสักเล็กน้อย ครับ ค่อนข้างแฝงความเชื่อที่ว่า ประตูจะมีมุมประตู เป็นเหลี่ยม ๆ การใช้ดอกไม้ไปประดับตรงแต่ละมุมทั้งสองมุมนั้น จะเป็นการลบมุม ลบเหลี่ยม ประตูตรงนั้นด้วย ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นทำให้ความหมายดี ก็ทำนองคล้าย ๆ แนว ๆฮวงจุ้ยนะแหล่ะ
ส่วนของตกแต่งอย่างอื่น ที่ทำแบบง่าย ๆ ก็มี อย่าง ชิเมคาซาริ ของใช้ประดับวันปีใหม่เช่นกัน ประกอบด้วย เชือกศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำด้วยฟางข้าว มีแถบกระดาษสีขาวห้อยเป็นพู่ ประดับพร้อมกับ กุ้งมังกร ส้ม และใบเฟิร์น ชาวยุ่นจะแขวนไว้ที่หน้าบ้านด้วยความเชื่อว่า จะช่วยขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไปจากบ้านเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ โดยความหมายที่น่าสนใจอย่าง กุ้งมังกร จะหมายถึง อายุยืนยาว ส่วนส้ม ถือว่าหมายถึง เป็นสิ่งแสดงสุขภาพที่แข็งแรงของสมาชิกในครอบครัว โดยเชื่อว่าบ้านเมื่อแขวนชิเมคาซาริแล้ว เชื่อว่าบ้านบริสุทธิ์ สิ่งชั่วร้ายเข้าไม่ได้ นั่นเอง เมื่อทราบเกี่ยวกับของใช้ประดับกันไปหอมปากหอมคอกันแล้ว ก็มาดูในความเฃื่อของเขาอย่างอื่นกันบ้าง มาดูกันเลย ก็ทันที ที่วัดตีระฆังส่งท้ายปีเก่า หรือสัปดาห์แรกของปีใหม่ คนญี่ปุ่นจะไปวัดชินโตหรือวัดพุทธเป็นครั้งแรก โดยผู้คนจะโอนเงินลงในกล่อง และขอพร ให้มีสุขภาพแข็งแรง หลังจากไหว้พระแล้วก็จะมีการซื้อโอมาโมริ เครื่องรางนำโชค หรือลูกศรศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีขนนกสีขาวประดับอยู่ มีการเสี่ยงเซียมซี ใบเซียมซีเขียนด้วยตัวคันจิ ว่าจะดีหรือร้าย ถ้าไม่ค่อยดี ก็จะผูกไว้กับกิ่งไม้ในวัดเพื่อให้ดวงชะตาดีขึ้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้ดูไปดูมาก็คลับคล้ายคลับครากับของบ้านเรา ที่ปีใหม่ จะมีการทำบุญตักบาตร ไปไหว้พระ ฟังเทศน์กันที่วัด ตามแต่ละความเชื่อและศรัทธาของแต่ละคนกันไป ยิ่งกว่านั้นยังมีความเชื่อที่น่าสนใจ ในช่วงหลังปีใหม่ไม่นาน ที่น่าสนใจอย่าง ประเพณีทานข้าวต้มใส่สมุนไพร 7 ชนิด ของฤดูใบไม้ผลิ ในวันที่ 7 ของปีใหม่ ด้วยเหตุผล ตามที่ทราบ ๆ จากคนญี่ปุ่นนั้น ว่ากันมาว่า เชื่อกันว่าจะช่วยป้องกันโรคหวัด และโรคอื่น ๆ ไม่ให้มากล้ำกราย ประเพณีนี้มีเริ่มแรกในสมัยเฮอัน และพวก สมุนไพร 7 อย่างในฤดูใบไม้ผลิของเขา นั่นก็ได้แก่ ซูซูชิโระ ซูซูนะ เซริ นาซูนะ โกะเงียว โฮโตเคโนะซะ ฮาโกเบระ
หลายคนอาจสงสัย ว่าแล้วทำไมต้องวันที่ 7 หลังปีใหม่ด้วยล่ะ ส่วนทำไมต้องวันที่ 7 หลังปีใหม่ คาดว่าโน้มเอียงความเชื่อว่า เลข 7 เป็นเลขมงคลของชาวญี่ปุ่น นั่นเองครับ ด้านเลข 7 ซึ่งเป็นเลขมงคลของเขานั้นแฝงความเชื่อมาจากการเล่นปาจิงโก็ะของชาวญี่ปุ่นด้วยครับ เพื่อนชาวญี่ปุ่น บอกว่า หากเล่นปาจิงโก๊ะแล้วได้สุ่มออกมาเป็นเลข 7 7 7 ก็ถือว่า เป็นเลขนำโชค โชคดี อย่างมาก ได้เงินใช้ ทำนองนี่ล่ะครับ ( การจะสุ่มออกมาเป็นเลข 7 ทั้งสามตัวนั้นเป็นสิ่งที่มีความน่าจะเป็นน้อยมาก ถือว่าต้องเฮงจริง ๆจึงจะได้) เมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้ หลาย ๆ คน คงจะเข้าใจเทศกาลปีใหม่ของคนญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยความเชื่อ ที่แตกต่างจากของเรา ไม่มากก็น้อย ก็ขอจบการเล่าเรื่องความเชื่อของคนญี่ปุ่นแค่นี้ก่อนครับ หากมีเรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ อีกจะนำมาเล่าให้ฟังกันในโอกาสต่อไป







แสงแรกของปี 2010 ที่ชายทะเล ประเทศฟิลิปปินส์







พลุไฟที่ประตูชัย แบร์เดนเบิร์ก กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน








หอไอเฟล ประดับไฟสวยงาม ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส






พลุสวยๆหลังหอนาฬิกาบิ๊กเบน กรุงลอนดอน








พลุไฟเหนือพระราชวังเครมลิน ณ. จตุรัสแดง กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย








พลุสวยๆ กับ โอเปร่าเฮาส์ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย









ดอกไม้ไฟที่ เมืองเซียงไฮ้ ประเทศจีน







ลานห้างเซ็นทรัลเวิร์ด กรุงเทพฯ ประเทศไทย







ถนนในเมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล









ผู้คนที่ไทม์แสแควร์ฉลองสุดเหวี่ยงกลางเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา








ส่วนชาวเวนิสฉลองในเมืองกับนํ้าท่วมแข้ง ที่ประเทศอิตาลี







ชาวต่างชาติบนถนนฌ็องเซลิเซ่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส









ลูกโป่งที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น







โรแมนติกกับแสงสีบนถนนในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้












ใช้พุเขียนเลข 2010 ชาวยุโรปหลายประเทศ ฉลองปี 2010 แบบหนาวๆกับหิมะ










ริมทะเลยามฟ้าสาง ที่ตะวันออกกลาง








ก่อนตะวันจะขึ้น ชาวปากีสถาน อวยพรปีใหม่ด้วยคำว่า สันติภาพ

















แหล่งที่มาของข้อมูล

http://news.mthai.com/webmaster-talk/65085.html

http://webboard.yenta4.com/topic/368285

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=ancient-japan&month=07-01-2010&group=2&gblog=114

วันปีใหม่



ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่


ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขวัญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย



สถานที่ที่จัดงานปีใหม่

ยกตัวอย่างเช่น

งานปีใหม่ที่ขอนแก่น

เย็นวันที่ 31 ธค. ปี 2552 ที่ ขอนแก่น ได้จัดงาน เฉลิมฉลองศักราชใหม่ขึ้น ในปีนี้จัดยิ่งใหญ่มักมาก โดยจัดที่บริเวณ สี่แยก ประตูเมือง ระหว่าง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ติดกับ เซนทรัลพลาซ่า.........ชาวขอนแก่นได้สัมผัสบรรยากาศ รถติดเหมือนชาว กทม.ยังไงยังงั้นเลย.......ทันสมัยมาก ปิดถนนตั้งแต่แยก เซนทรัลพลาซ่า ไปถึง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง......-ด้านข้างมีซุ้มสวยงามให้ผู้คนได้เก็บภาพสวย-ส่วนด้านบนมีไฟโยงประดับเป็นแพ ระหว่างด้านบนถนนสองฟาก
-น้ำพุเจ็ดสี และสวนดอกไม้ ถูกเนรมิตรขึ้นมากลางสี่แยกใหญ่สวยงามมักมากขอบอก ค่ะ-อีกซีกของบริเวณงาน ประดับไฟเป็นแพยาว อยู่ด้านบน ของถนน-บรรยากาศที่บริเวณเซนทรัลด้านข้างฝั่งทางด้านศาลหลักเมือง ต้นคริสมาส สูงใหญ่ประดับไฟสวยงามมากๆ

งานสีสันความสุขปีใหม่ภูเก็ต 2553 Colorful Phuket Countdown

งานสีสันความสุขปีใหม่ภูเก็ต 2553 Colorful Phuket Countdown 2010วันจัดงาน : วันที่ 25 – 31 ธันวาคม 2552 เวลา 18.30 – 24.00 น.สถานที่จัดงาน : วงเวียนสุรินทร์ (หอนาฬิกา)
กิจกรรม- อิ่มอร่อยกับอาหารทะเลและอาหารนานาชาติจากทั่วทั้งเกาะภูเก็ต- สนุกสนานกับการแสดงลิเกฮูลู คาบาเร่ต์- ร่วมลุ้นการประกวดเต้นจังหวะบีบอยชิงแชมป์ภาคใต้ และดนตรีชิงแชมป์ภาคใต้- ประกวดการออกแบบผ้าพื้นเมือง- เริงรมย์กับเสียงเพลง Symphony Jazz Rock Reggae และนักร้องที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย- ร่วมนับถอยหลังต้อนรับปีใหม่ พร้อมตื่นตาตื่นใจกับพลุและดอกไม้ไฟที่ยิ่งใหญ่- เพลิดเพลินกับเทศกาลของขวัญที่ศูนย์การค้าจังซีลอน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลแฟสติวัลภูเก็ตและโรบินสันโอเชี่ยนภูเก็ต

แอ่วเหนือ!เที่ยวงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่สู่เชียงใหม่ 2010

สิ้นปีนี้ชวนเพื่อน ๆ ไปแอ่วเหนือสัมผัสอากาศเย็นและร่วม Countdown ส่งท้ายปี ในงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่สู่เชียงใหม่ 2010 จังหวัดเชียงใหม่ งานที่ทุกคนไม่ควรพลาด

จังหวัดเชียงใหม่ขอเชิญนักท่องเที่ยวมาสัมผัสอากาศหนาว และร่วมนับถอยหลังต้อนรับเข้าสู่ปีใหม่ 2553 พร้อมชมกิจกรรมต่าง ๆ ในงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่สู่เชียงใหม่ 2010 จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 – 1 มกราคม 2553 ณ ถนนท่าแพตลอดสายและบริเวณข่วงประตูท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
กิจกรรม- การแสดงดนตรีและกิจกรรมบันเทิงต่างๆ- การแสดงคอนเสิร์ต- การนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่- มหกรรมอาหารจังหวัดเชียงใหม่- กิจกรรมถนนคนเดิน








แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.zabzaa.com/event/newyear.htm
http://blog.eduzones.com/entertain/14290
http://dek-d.com/board/view.php?id=1552837
http://talk.edtguide.com/colorful-phuket-countdown-2010.html