RSS

Merry Christmas . Replace this text with your christmas wishes for your visitors .

Clock

ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e-Commerce



ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e-Commerce 5 ขั้นตอน





ขั้นตอนทั้ง 5 นี้ ทำให้รู้ว่าจะพัฒนา e-Commerce .. อย่างไร ขั้นตอน 1 - สำรวจโอกาสทางการตลาดด้วยระบบค้นหาข้อมูล (Search engines) ขั้นตอน 2 - วางแผนการตลาด และพัฒนาเว็บเพจ (Planning and development) ขั้นตอน 3 - นำเว็บเพจเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และจัดตั้งเว็บไซต์ (Install) ขั้นตอน 4 - โฆษณา และประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ (Promotion) ขั้นตอน 5 - ติดตามผล ปรับปรุง และบำรุงรักษา (Evaluation and Maintenance)
ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e-Commerce มี 9 ขั้นตอน
ขั้นตอนทั้ง 9 นี้ มีความชัดเจนที่ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติในทาง e-commerce อย่างมาก
1. แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแล ซึ่งควรจะมี ฝ่ายขาย การตลาด และผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจ
2. วิจัยตลาดโดยผ่านทางระบบค้นหา เพื่อหาช่องว่าง และโอกาสทางการตลาด
3. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เราจะขายสินค้า
4. วางกลยุทธ์ด้านสินค้าว่า จะขายอะไร หรือปรับปรุงอย่างไร ตั้งราคาเท่าใด โดยปรับตามปัจจัย และพฤติกรรมที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อ
5. ทำการพัฒนาเว็บเพจตามที่ได้วางกลยุทธ์ไว้
6. ติดตั้งระบบอีคอมเมิร์ซ เลือกระบบตะกร้า และวิธีการจ่ายเงินที่เหมาะสม
7. จดทะเบียนชื่อโดเมน (อาจจะทำการจดไว้ก่อนตั้ง แต่ขึ้นตอนแรก หากกลัวชื่อที่ต้องการหมด และสามารถตกลงกันได้ว่า จะเอา ชื่อใด) และนำเว็บเพจที่ออกแบบเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
8. ทะเบียนในระบบค้นหา และประชาสัมพันธ์ด้วยวิธี หรือสื่ออื่น
9. ตรวจวัดผลระยะเวลา 1, 3 และ 6 เดือน เพื่อปรับแต่งจนสอดคล้องกับพฤติกรรม





หลากวิธีการเริ่มต้นทำ E-Commerce ที่คุณเลือกได้
Submitted by pawoot on Tue, 06/05/2008 - 16:27
ในการเริ่มต้นทำ E-Commerce ขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ไปยังคนทั่วโลกมีหลายรูปแบบ ท่านสามารถเริ่มต้นได้ด้วยงบลงทุนหลายๆ ขนาด ตั้งแต่เริ่มต้นด้วยไม่ถึงพันบาท จนไปถึง เป็นหลักแสนบาทได้ หรือ จะเริ่มต้นแบบง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลยซักบาท ก็สามารถทำได้ โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ขอบเขตและรูปแบบของ E-Commerce ที่คุณต้องการจะทำ ว่ามีรายละเอียดและการตอบสนองต่อธุรกิจคุณได้มากน้อยแค่ไหน โดยรูปแบบของอีคอมเมิร์ซที่สามารถเริ่มต้นได้อย่างง่ายๆ มีหลายรูปแบบได้แก่

1. การทำ E-Commerce โดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง
สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นขายสินค้าออนไลน์ หรือมีสินค้าจำนวนไม่มากและไม่กี่ประเภท คุณสามารถค้าขายในโลกออนไลน์อย่างง่ายๆ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ของตัวเองเลย เพราะคุณสามารถนำข้อมูลสินค้าหรือบริการของคุณไปลงประกาศไว้ตามเว็บไซต์ที่ให้บริการ ประกาศซื้อ-ขายสินค้าได้ฟรีๆ (E-Classified) หรือตลาดกลางสินค้า (E-Marketplace) เช่น www.ThaiSecondhand.com โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องมีหน้าเว็บไซต์เลย เพราะหลังจากคุณลงประกาศข้อมูลลงไปแล้ว คุณก็จะมีหน้าแสดงข้อมูลสินค้าคุณง่ายๆ ของคุณเอง และข้อมูลประกาศสินค้าชิ้นนั้นก็จะแสดงอยู่ใน เว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งเว็บไซต์ลักษณะนี้จะมีคนเข้ามาเป็นจำนวนมากหลายแสนคน ทำให้คุณมีโอกาสขายสินค้าออกไปยังกลุ่มคนเหล่านี้ได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยซักบาท

บริการลักษณะนี้เหมาะสำหรับใคร?
- ผู้เพิ่งเริ่มต้นและอยากทดลองการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต E-Commerce
- ผู้ที่มีสินค้าที่ไม่มากและไม่กี่ประเภท
- ผู้ที่มีเว็บไซต์อยู่แล้วและต้องการทำโฆษณาขายสินค้าของตนให้คนอื่นๆ รู้จักมากขึ้น

ข้อดี ของการทำอีคอมเมิร์ซโดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
- ฟรี.! ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นทำ
- สะดวก ทำได้ด้วยตัวเองได้ทันที.!
- เข้าถึงคนนับล้านคนได้ทันที เพราะส่วนใหญ่เว็บลักษณะนี้จะมีคนเข้ามาใช้บริการมากอย่แล้ว
- ถ้าขยันประกาศ ทุกวัน หรือไปซื้อโฆษณาประกาศค้างเอาไว้เลย ยิ่งมีโอกาสการขายมากขึ้น

ข้อเสีย ของการทำอีคอมเมิร์ซโดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
- เว็บไซต์ลักษณะนี้จะใส่ข้อมูลสินค้าได้ไม่มากจำกัด และใส่ได้ทีละรายการ
- ต้องเข้ามาลงประกาศอยู่เสมอ เพราะหน้าเว็บไซต์ลักษณะนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา (ทำให้ประกาศสินค้าของคุณหล่นไปอยู่ด้านล่างๆ หรือหายไป ดังนั้นต้องเข้ามาลงประกาศบ่อย ๆเพื่อให้คนเห็นสินค้าของคุณ)
- ไม่มีชื่อเว็บเป็นของตนเอง ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอีกภายหลังได้ยาก ซึ่งหากมี โดเมนเป็นของตนเองจะสะดวกกว่า


2. การมีเว็บไซต์ E-Commerce เป็นของตัวเอง
สำหรับท่านที่มีสินค้าเป็นจำนวนมาก และมีหลายประเภท คุณอาจจะต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง เพื่อใส่ข้อมูลสินค้าที่มีมากมายหลากหลายประเภท อยู่ในเว็บไซต์คุณ เพราะข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้อยู่ในเว็บไซต์คุณทั้งหมด เพื่อสะดวกต่อลูกค้าในการเข้ามาค้นหาสินค้าหรือซื้อสินค้าของคุณ

ข้อดีของการมีเว็บไซต์ เป็นของตัวเอง
- มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง มีชื่อ URL หรือ Domain เป็นของตนเอง ทำให้จดจำได้ง่าย
- ใส่ข้อมูลสินค้าได้มาก ลงลึกในรายละเอียดสินค้าแต่ละรายการ
- สามารถเพิ่มระบบชำระเงินที่สามารถ ชำระเงินผ่านเว็บได้ทันที ผ่านบัตรเครดิตหรือธนาคารโดยตรง
- ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในสิ่งที่คุณต้องการได้ไม่จำกัด

ข้อเสียของการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
- ต้องมีการจัดทำเว็บไซต์ขึ้นมาก สำหรับของคุณโดยเฉพาะ
- ต้องคอยมานั่งดูแล บริหาร จัดการ เว็บไซต์ โดยอาจจะต้องจ้างหรือจัดทำเอง
- บางแห่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำ
- บางครั้งต้องทำการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์เพื่อให้ลูกค้ารู้จักเว็บไซต์ของเรา (ซึ่งใช้เวลา-ค่าใช้จ่าย)

เราสามารถแบ่งรูปแบบของการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ

2.1. ใช้เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูป
เป็นบริการจัดทำเว็บไซต์ที่เตรียมทุกอย่างไว้พร้อมสรรพสำหรับ การค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะคุณสามารถจัดทำและบริหารเว็บไซต์นี้ได้ทันที โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาต่างๆ ในการทำเว็บไซต์เลย เพราะทุกอย่างได้เตรียมพร้อมไว้ให้คุณสามารถจัดการเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย เพียงเข้าไปในระบบ และกรอกข้อมูลสินค้า, ราคา รูปภาพ และรายละเอียดเว็บไซต์ที่คุณต้องการลงไป คลิ๊กๆ ไปตามขั้นตอน เพียงไม่กี่นาทีคุณก็จะได้เว็บไซต์ของคุณเอง ที่พร้อมทำการค้ากับทั่วโลกได้ทันที นับว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการจัดทำเว็บไซต์ และสะดวกสำหรับผู้ที่ไม่ความรู้ด้านการทำเว็บไซต์เลย โดย รูปแบบของเว็บไซต์ลักษณะนี้ มีหลายรูปแบบ ได้แก่

- เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูปออนไลน์พร้อมใช้ทันที
เป็นรูปแบบเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูป ที่ระบบทั้งหมดอยู่บนเว็บไซต์แล้ว คุณสามารถสมัครใช้บริการผ่านเว็บไซต์ได้ทันที และสามารถบริหารข้อมูลสินค้าภายในร้านค้า หรือข้อมูลร้านค้าผ่านเว็บไซต์ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้ง ซอฟแวร์อะไรพิเศษลงไปในเครื่องของคุณเลย ก็สามารถเริ่มต้นมีเว็บไซต์ได้ทันที บางแห่งมีให้บริการแบบฟรี.! เช่น บริการของเว็บไซต์ www.TARADQuickWeb.com หรือบริการแบบเสียเงิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของบริการที่คุณต้องการใช้

- เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูปที่ต้องนำมาติดตั้งก่อนใช้
เป็นรูปแบบซอฟแวร์ที่คุณต้องมีการนำมาติดตั้งในเว็บไซต์คุณก่อน ถึงจะสามารถใช้งานและบริหารเว็บไซต์ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องการ ความรู้ในการติดตั้งซอฟแวร์และระบบฐานข้อมูล (Database) เพื่อเก็บข้อมูลสินค้าต่างๆ ลงในโปรแกรม บางโปรแกรมอาจจะต้องมีการติดตั้งเพื่อเชื่อมโยงกับพื้นที่ๆ เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของคุณ (Hosting) มีทั้งในรูปแบบของซอฟแวร์ฟรี เช่น OS commerce (www.oscommerce.com) และซอฟแวร์เสียค่าใช้จ่ายในการนำมาใช้




เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูปเหมาะสำหรับ
- ผู้ที่ต้องการเริ่มต้น หรือต้องการความสะดวกสะบายในการมีเว็บไซต์
- ผู้ที่ต้องการจัดการบริหารเว็บไซต์ด้วยตัวเอง
- มีเวลาทำจัดทำและบริหารเว็บไซต์

ข้อดี ของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูป.
- มีค่าใช้จ่ายต่ำ หรือบางแห่งฟรี.! (www.TARAD.com)
- มีทุกอย่างพร้อมสำหรับการเริ่มต้นทำ E-Commerce เพราะส่วนใหญ่ได้เตรียมบริการทุกอย่างที่จำเป็นในการเริ่มต้นทำอีคอมเมิร์ซไว้ให้พร้อมทุกอย่างแล้ว
- สามารถบริหารจัดการร้านค้าได้จากทุกแห่งทั่วโลก ด้วยตัวเอง ขอแค่มีเพียงอินเทอร์เน็ตก็สามารถทำได้ทันที
- สร้างโอกาสการขายสินค้าได้สูง เพราะเหมือนกับไปเปิดร้านค้าไว้ในห้างขนาดใหญ่ เพราะผู้ให้บริการบางแห่ง เป็นตลาดนัดกลางขนาดใหญ่ (E-Marketplace หรือ E-Shopping Mall) อยู่แล้ว และซึ่งหากคุณเปิดบริการด้วยแล้ว สินค้าในร้านค้าของคุณจะเข้าไปแสดงในตลาดกลาง ซึ่งมีคนเข้ามาจับจ่ายซื้อของเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว

ข้อเสีย ของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูป.
- มีค่าใช้จ่าย ในการจัดทำ (ยกเว้นบางแห่งให้บริการฟรี.!)
- ปรับรูปแบบเว็บไซต์ให้ตรงกับความต้องการของคุณ 100% ไม่ได้ เพราะเป็นรูปแบบที่มีการทำเตรียมพร้อมไว้สำเร็จรูปแล้ว



2.2. การจัดทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซโดยพัฒนาขึ้นมาใหม่
เป็นรูปแบบการทำเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเป็นไปตามความต้องการของคุณเองเลย เพราะจัดทำเว็บไซต์คุณสามารถควบคุมหรือกำหนดได้ตามความต้องการของคุณทุกประการ ซึ่งคุณสามารถเพิ่มเนื้อหาหรือบริการใหม่ๆ แปลก ที่คุณอาจจะคิดขึ้นมาใหม่ หรือไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน มาอยู่ในเว็บไซต์คุณได้

วิธีการจัดทำเว็บไซต์โดยพัฒนาขึ้นมาใหม่มีหลายวิธีได้แก่

1. พัฒนาด้วยตัวคุณเองหรือคนในองค์กรของคุณ
คุณสามารถพัฒนาเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้อย่างง่ายดายเพราะเดียวนี้ มีเครื่องมือและซอฟแวร์ต่างๆ ที่ช่วยทำให้การทำเว็บไซต์ของคุณเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น รวมถึงความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำเว็บไซต์มากมาย ที่คุณสามารถหาศึกษาได้อย่างง่ายดายรอบตัวคุณ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ ที่ซึ่งมีอยู่เต็มไปหมดในร้านหนังสือ หรือ ซีดี ที่สอนเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ โดยเป็นวีดีโอสอนการทำเว็บทีละขั้นตอน ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการทำจริงๆ ได้เลย หรือ แม้แต่ในเว็บไซต์หลายๆ แห่งก็มี ข้อมูลและวิธีสอนการทำเว็บไซต์ อยู่มากมายในอินเทอร์เน็ต ที่คุณสามารถหาอ่านได้อย่างฟรีๆ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีข้อมูลการสอนการทำเว็บไซต์ www.ThaiDev.com, www.Sansukhtml.com, www.twebmaster.com เป็นต้น
สำหรบบางบริษัทหรือองค์กร อาจจะมีการจัดให้เจ้าหน้าที่ในองค์กรที่พอจะมีความรู้ในการทำเว็บไซต์ รับหน้าที่ในการดูแลและจัดทำเว็บไซต์ให้ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดการและบริหารเว็บไซต์ของคุณก็สามารถทำได้


2. จ้างผู้เชี่ยวชาญ หรือบริษัทมาพัฒนาให้
หากท่านไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำเว็บ หรือไม่มีเวลามาคอยนั่งพัฒนาเว็บไซต์ให้ได้ตรงกับความต้องการของคุณ คุณก็สามารถ ใช้วิธีหาผู้เชียวชาญหรือบริษัทที่รับทำเว็บไซต์ มาพัฒนาเว็บไซต์ให้กับคุณได้ โดยผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทส่วนใหญ่จะมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเว็บไซต์อยู่แล้ว ซึ่งรูปแบบของผู้รับพัฒนาเว็บไซต์มีหลายรูปแบบ ได้แก่

a. นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ (Student)
เดียวนี้นักเรียนหรือนักศึกษาบางคน เริ่มมีความรู้ความสามารถในการทำเว็บไซต์ตั้งแต่เด็กๆ ท่านสามารถให้นักศึกษาและนักเรียนเป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ให้กับคุณได้ แต่ด้วยการที่ให้เด็กเป็นผู้พัฒนา คุณอาจจะต้องพอมีความรู้ในการพัฒนาเว็บไซต์อยู่บ้าง และต้องพยายามควบคุมเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ด้วยตัวคุณเองอย่างใกล้ชิด

ข้อดี ของการให้นักศึกษามาพัฒนาให้
- ค่าใช้จ่ายในการรับพัฒนามีราคาไม่แพงมากนัก
- สามารถหานักเรียนนักศึกษาได้ง่าย อาจจะหาจากสถาบันการศึกษาใกล้บ้าน หรือญาติพี่น้องใกล้ตัว
ข้อเสีย ของการให้นักศึกษามาพัฒนาให้
- รูปแบบของเว็บไซต์อาจจะดูไม่เป็นโปรเฟสชั่นนอลมากนัก
- ประสบการณ์ในการทำงานและการแก้ปัญหาน้อย
- อาจมีการบอกเลิกการทำงานหรือการหนีงานเกิดขึ้น (เพราะมีความรับผิดชอบไม่มาก)

B. นักพัฒนาอิสระ (Freelancer)
ท่านสามารถหานักพัฒนาอิสระมาช่วยพัฒนาเว็บไซต์ให้กับคุณได้ โดยลักษณะของนักพัฒนาอิสระหรือฟรีแลนซ์ จะมีความเชี่ยวชาญ ในการพัฒนา แต่อาจจะทำงานอิสระหรือทำงานอยู่ในองค์กรอื่นๆ แต่ใช้เวลานอกการทำงาน มารับพัฒนาเว็บไซต์ให้กับคุณ ซึ่งคุณสามารถหาฟรีแลนซ์ได้ตามเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านี้ เช่น www.Rookienet.com, www.Webmaster.or.th, www.ThaiFreelanceBid.com เป็นต้น

วิธีการคัดเลือกฟรีแลนซ์มาพัฒนาเว็บไซต์ให้กับคุณ
1. พยายามหาฟรีแลนซ์หลายๆ เพื่อมาเปรียบเทียบราคาและ รูปแบบของผลงาน
2. ดูผลงานที่ฟรีแลนซ์ เคยทำมาว่ามีความเชี่ยวชาญตรงกับเว็บไซต์ที่คุณจะให้ทำหรือไม่
3. ศึกษารูปแบบและเวลาในการทำงานว่าตรงกับความต้องการของคุณหรือไม่?
4. อาจจะให้ฟรีแลนซ์ ลองร่างคอนเซป์(Concept) หรือ รูปแบบของเว็บไซต์ ที่จะทำให้คุณเห็นก่อน
5. กำหนดราคาในการจัดทำและการดูแลเว็บไซต์หลังจากส่งมอบงานแล้ว
6. อาจจะมีการร่างสัญญาในการทำงานเพื่อที่จะเป็นข้อตกลงร่วมกันในการทำงาน

ข้อดี ของการให้นักพัฒนาอิสระเป็นผู้พัฒนาให้
- มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเว็บ
- ผลงานที่ออกมามีความเป็นโปรเฟสชั่นนอล (ไม่ทุกคนนะครับ ต้องเลือกดูดีๆ ก่อน)
- ราคาสามารถเลือกได้ตามควรต้องการ

ข้อเสีย ของการให้นักพัฒนาอิสระเป็นผู้พัฒนาให้
- บางครั้งอาจจะเกิดการหนีงานเกิดขึ้นได้ (ต้องพยายามดูให้ดี)
- การแก้ใขงานในครั้งต่อไป อาจจะมีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (หากไม่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก)
- ต้องดูความเชี่ยวชาญของแต่คนว่ามีความถนัดด้านใด เพราะหาคนทำไม่ตรงกับงานที่คุณต้องการ อาจจะทำให้งานออกมาไม่ดี

C. บริษัทรับจัดทำเว็บไซต์ (Web Development Company)
หากท่านต้องการเว็บไซต์ที่ออกแบบด้วยมืออาชีพ ทั้งในรูปแบบและการให้บริการ ท่านควรจะเลือกใช้บริการกับ บริษัทที่ให้บริการจัดทำเว็บไซต์ เพราะบริษัทเหล่านี้จะมีผู้เชี่ยวชาญ ในการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำ อีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปแบบและจริงๆ จัง หรือผู้ที่เป็นลักษณะรูปแบบองค์กรขนาดใหญ่ เพราะบริษัทเหล่านี้สามารถ รับทำเว็บไซต์ตามความของคุณได้ทุกรูปแบบ และความต้องการของคุณ พร้อมด้วยประสบการณ์ในการทำงาน ของคุณมีคุณภาพและยังมีความน่าเชื่อถือมากกว่าแบบอื่นๆ เพราะด้วยรูปแบบการทำงานที่เป็นบริษัท

ข้อดี ของการให้บริษัทรับจัดทำเว็บไซต์ให้
- มีความสวยงามตามความต้องการอย่างไร สามารถทำได้ตามความต้องการของคุณ (แต่คนทำต้องทำได้ด้วยนะครับ)
- สามารถทำงานที่มีความซับซ้อนได้ เช่นการมีโปรแกรมจัดการต่างๆ
- มีความน่าเชื่อถือและสามารถติดตามงานได้ เพราะมีตัวตนที่แน่นอน

ข้อเสีย ของการให้บริษัทรับจัดทำเว็บไซต์ให้
- มีค่าใช้จ่ายสูง ในจัดทำ หรือดูแลเว็บไซต์
- ทำการแก้ใขข้อมูลในเว็บไซต์ทำได้ยากและลำบาก เพราะการแก้ไขอาจจะต้องให้บริษัทเป็นผู้แก้ไขให้ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายอาจมีขั้นตอนที่มากกว่า และอาจจะใช้เวลามาก

สรุป
สำหรับท่านที่อยากจะเริ่มต้นทำอีคอมเมิร์ซ ในการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต อาจเริ่มต้นจาก การนำสินค้าหรือบริการของตนไปประกาศขายในเว็บไซต์ประกาศซื้อ-ขาย ในช่วงเริ่มต้นเพราะไม่ต้องลงทุนและมีค่าใช้จ่ายอะไรเลย พอเริ่มมีลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเข้ามามากขึ้น และเริ่มมีสินค้ามากขึ้น การเริ่มขยับไปสู่การมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง ในการค้าขาย ซึ่งอาจจะเลือกเป็นแบบเว็บไซต์สำเร็จรูป หรือเว็บที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพราะจะสามารถรองรับลูกค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในการทำการค้าผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต


แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.pawoot.com/node/117
http://blog.spu.ac.th/FutureCareer/2007/11/26/entry-21

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น