RSS

Merry Christmas . Replace this text with your christmas wishes for your visitors .

Clock

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดศรีสะเกษ





อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตประเทศกัมพูชา บริเวณที่ติดกับผามออีแดงของประเทศไทย โดยตัวปราสาทหันหน้ามายังด้านที่ติดกับประเทศไทย ดังนั้น การเข้าชมปราสาทในทางบก จึงต้องใช้เส้นทางที่ผ่านผามออีแดงของประเทศไทยเท่านั้น

ปราสาทเขาพระวิหาร (Prasat Preah Vihear)
ปราสาทเขาพระวิหาร ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงเร็ก (ดองเร็ก) ภาษาเขมรแปลว่า ภูเขาไม้คาน ซึ่งกั้นพรหมแดนระหว่าง ไทยกับกัมพูชา มีความสูงจากพื้นดิน 547 เมตร และระดับความสูง 657 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล พระวิหารหรือในภาษาเขมรเรียกว่า เปรียะวิเหียร หมายถึงสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร อันหมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์

สำหรับสถานที่ตั้งและทิศทางปราสาทเขาพระวิหารนั้น ปรากฏว่าปราสาทแห่งนี้หันหน้าไปทางทิศเหนือแทนการหันไปสู่ทิศตะวันออก ดังเช่นศาสนสถานแบบเขมรโดยทั่วไป โดยหลักการแล้วการสถาปนาปราสาทขึ้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อ การรังสรรค์ที่ประทับของเทพเจ้าตามแบบจำลองของพระราชวังบนสรวงสวรรค์

ปราสาทเขาพระวิหาร ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาทราย จำแนกออกเป็นประเภทต่างๆได้แก่ ปราสาทประธาน ระเบียงคด โคปุระ อาคารรูปกากบาท วิหาร บรรณาลัย และบันไดนาคพร้อมทางเดิน องค์ประกอบทั้งหมดของศาสนสถานแห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาลาดลงตามไหล่เขาพระ วิหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงเร็ก

ในวัฒนธรรมเขมรได้ให้ความสำคัญแก่ยอดเขาโดยถือว่ายอดเขาเป็นสถาน ที่ซึ่งได้รับการเลือกสรรมาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ตั้งแต่กลางสมัยพุทธศตวรรษที่ 15 ได้เริ่มนิยมสร้างศาสนสถานบนยอดเขาธรรมชาติตามความหมายของศาสนบรรพต เหนือยอดเขาพระวิหารซึ่งถือว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่สถิตของ เทพเจ้า โดยปกติแล้วทิศของศาสนสถานของเขมรทั้งหมดจะหันหน้าออกไปทางทิศตะวันออก แต่บางครั้งก็ต้องมีการปรับปรุงให้เข้ากับทางภูมิศาสตร์

ปราสาทเขาพระวิหารปัจจุบันอยู่ภายใต้การครอบครองของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนกัมพูชา ซึ่งอยู่ติดกับอำเภอ กันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

การเข้าชม เปิด ให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00 น . – 16.30 น. ค่าเข้าชม ต้องเสียค่าธรรมเนียมสองด่าน คือค่าผ่านด่านเขาพระวิหารชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 200บาท และค่าเข้าชมเขาพระวิหารที่เป็นการเก็บของด่านกัมพูชา ชาวไทยผู้ใหญ่ 50 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 200 บาท

การเดินทาง

จากศรีสะเกษไปทางอำเภอกันทรลักษณ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 221 จะผ่านบ้านภูมิซร๊อล มาจนถึงเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จะมีด่านตรวจ ผ่านด่านแล้วให้ขึ้นไปตามทางขึ้นเขา

จากอุบลราชธานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 24ที่ไปเดชอุดม มาจนถึงทางแยกเข้าทางหมายเลข 2085 ไปอำเภอกันทรลักษณ์ แล้วตรงไปตามทางดังกล่าว

รถโดยสาร มีรถโดยสารจากอำเภอเมือง ศรีสะเกษ ไปถึงอำเภอกันทรลักษณ์ ออกทุกชั่วโมงแล้วเหมารถต่อไปปราสาท หรือเหมารถรับจ้างจากอำเภอเมืองปราสาทไป ราคาประมาณ 1,000 บาท

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

อุทยาน แห่งชาติเขาพระวิหาร ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอน้ำยืน กิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ หรือ 130 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารทางด้านบริเวณผามออีแดง ท้องที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จัดได้ว่าสะดวกที่สุด

พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งลำโดมใหญ่ ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 และกองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในภาค 2 ค่ายสุรนารี นครราชสีมา ซึ่งได้ทำความตกลงกับกรมป่าไม้ กำหนดพื้นที่ป่าไม้ชายแดนให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และเป็นแหล่งต้น น้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มาก มีทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และได้ขอให้กรมป่าไม้กำหนดและประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

ผลจากการสำรวจเพื่อดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติปรากฏว่า สภาพป่าของพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณ อยู่ในป่าโครงการไม้กระยาเลยป่าเขาพระวิหาร (ศก.7) ผ่านการทำไม้แล้ว กับอีกส่วนหนึ่งอยู่ในป่าโครงการไม้กระยาเลยป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ (อบ.2) มีทัศนียภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่หลายแห่ง อาทิเช่น จุดชมวิวผามออีแดง จุดชมวิวหน้าผาช่องโพย บริเวณป่าและสวนหินรอบสระตราว ถ้ำฤาษี แหล่งตัดหิน สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำใต้ผามออีแดง น้ำตกผาช่องโพย จุดชมวิว ภูเซี่ยงหม้อ ปราสาทโดนตาลและที่สำคัญอีกจุดหนึ่งคือ ปราสาทเขาพระวิหาร โบราณสถานสำคัญเก่าแก่ที่เคยเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ.2505 ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินให้ตกเป็นสมบัติของประเทศกัมพูชาแล้ว โดยเด็ดขาดก็ตาม แต่ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารนั้นอยู่ด้านพื้นที่ของประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผ่านและอาศัยพื้นที่ทางขึ้นด้านบริเวณผามออีแดงที่ จังหวัดศรีสะเกษ จัดว่าสะดวกที่สุด เพราะฉะนั้นการที่ชาวไทยหรือชนชาติต่างๆ ที่ต้องการเดินทางไปศึกษาหาความรู้และพักผ่อนหย่อนใจบนปราสาทเขาพระวิหาร จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับประเทศไทยแต่อย่างใด ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยโดยจังหวัดศรีสะเกษได้ประสานงานตกลงกับจังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว ในเรื่องการขอใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวของสถานที่บริเวณส่วนบนปราสาทเขา พระวิหารแห่งนี้ร่วมกัน

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน ตำบลโคกสะอาด กิ่งอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน จังหวักอุบลราชธานี และป่าเขาพระวิหารในท้องที่ตำบลเสาธงชัย ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศ

คดีเขาพระวิหาร

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะข้าหลวงต่างพระองค์ มณฑลอีสาน สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ค้นพบปราสาทแห่งนี้ในปี 2442 พร้อมกับจารึกพระนามและ ร.ศ. ที่ค้นพบไว้ที่ชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า “๑๑๘ สรรพสิทธิ” ซึ่งอีก 5 ปีต่อมา ไทยทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส และให้ฝรั่งเศสรับผิดชอบเรื่องการทำแผนที่ โดยการเขียนแผนที่ในครั้งแรกเขาพระวิหารยังอยู่ในเขตแดนของไทย แต่ในปี 2450 มีการทำสนธิสัญญาเพิ่มเติมและมีการกำหนดเขตแดนกันใหม่ ปรากฏว่าเขาพระวิหารตกไปอยู่ในพื้นที่ของกัมพูชา แต่ไทยก็ไม่ได้ทักท้วงประการใด จึงเท่ากับยอมรับไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ตามไทยยังใช้สิทธิครอบครองเขาพระวิหารเรื่อยมา จนกระทั่งปี 2502 เจ้านโรดม สีหนุ กษัตริย์กัมพูชา ยื่นฟ้องต่อ ศาลระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ภายหลังการไต่สวนถึง 3 ปี มีการนัดสืบพยาน 73 ครั้ง จนในที่สุดศาลโลกตัดสินให้ กัมพูชาเป็นฝ่ายชนะคดี ด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง

ในเวลาต่อมากัมพูชาเสนอให้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นมรดกโลกต่อ องค์การยูเนสโก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ณ เมืองไครสเชิร์ช นิวซีแลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2550 แต่ไทยกับกัมพูชามีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งฝ่ายไทยกล่าวว่าควรแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่เขตแดนทับซ้อนรอบปราสาทก่อน แล้วจึงค่อยเสนอ จนกระทั่งใกล้ถึงการประชุมสมัยที่ 32 ที่แคนาดา ในปีถัดมา ก็ยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกัน และถ้าหากเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยอ้างอิงจากแผนที่ ที่ฝรั่งเศสทำ จะทำให้ไทยต้องเสียดินแดนถอยร่นเข้ามาประมาณ 7.2 ตารางกิโลเมตร

วันที่ 23 มิถุนายน 2551 เวลา 10.15 น. ได้มีขบวนกลุ่มธรรมยาตราชาวไทย มาชุมนุมขับไล่ผลักดันชาวกัมพูชาให้ออกไปจากเขตแดนไทย ที่บริเวณเชิงเขาพระวิหาร หลังจากนั้น พล.ต.ย็อก วันล็อก ประธานคณะทำงานขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา พร้อมด้วย นายเปรี๊ยบ ตัน ผวจ.พระวิหาร ได้มีคำสั่งให้นำเอากุญแจมาล็อกประตูเหล็กที่ข้ามเข้าไปสู่เขาพระวิหาร และมีกำลังทหารกัมพูชาจำนวนหลายร้อยคน พร้อมด้วยอาวุธหนักและอาวุธเบาแต่งเครื่องแบบ พากันมาตรึงกำลังรอบบริเวณเขาพระวิหาร ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ขึ้นไปยังปราสาทเขาพระวิหารเป็นการชั่วคราว เนื่องจากอาจจะมีผู้ที่ไม่ประสงค์ดีแอบแฝงเข้ามาก่อเหตุร้ายในบริเวณชุมชน กัมพูชาที่บริเวณเชิงเขาพระวิหาร





ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น


ที่มาของข้อมูล

http://www.sisaket.go.th/travel/.html
http://www.toursisaket.com/th/tour.php
http://www.tour-thai.net/northeast/sisaket/main.html
http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น