RSS

Merry Christmas . Replace this text with your christmas wishes for your visitors .

Clock

มารู้จักกับ e-commerce กัน

E-Commerce นิยามและความหมาย
Source - Department of Industrial Promotion (Th/Eng)
Wednesday, March 12, 2003 11:29
28176 XTHAI XECON XGOV XITBUS XLOCAL V%GOVL P%DIP

ปัจจุบันคงจะไม่มีใครบอกว่าไม่เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ E-Commerce มาเลยบางท่านที่เคยได้ยินแต่ไม่ได้สนใจถือว่าเป็นเรื่องไกลตัว อันที่จริง ท่านผู้รู้ได้กล่าวว่า ในอนาคต E-Commerce จะเข้ามาพลิกโฉมทางการค้าและเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของเรา และห้างสรรพสินค้าอาจจะไม่มีความจำเป็นแล้วเพราะต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่จะหันมาใช้ห้างสรรพสินค้า E-Commerce ซึ่งกำลังเป็นที่ตื่นตัวกันอย่างมากในอเมริกา ดังนั้น เมื่อ E-Commerce มีบทบาทมากขนาดนี้ เราจะมองข้ามเสียไม่ได้
ความหมายของ E-Commerce
E-Commerce ย่อมาจาก Electronic Commerce หรือที่เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การประกอบธุรกิจการค้าผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ หรือ คอมพิวเตอร์
ซึ่งเป็นช่องทางที่มีความสำคัญที่สุดในปัจจุบัน โดยมีระบบอินเตอร์เน็ตเป็นสือกลางในการเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายให้สามารถทำการค้ากันได้
ประเภท และรูปแบบ
E-Commerce สามารถแบ่งได้หลายลักษณะ ที่รู้จักกันทั่วไป มี 3 ประเภท คือ
B - To - C ย่อมาจาก Business to Business เป็นการซื้อขายสินค้าระหว่างธุรกิจด้วยกันเอง เช่น ผู้ผลิตขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก ชำระเงินผ่านระบบธนาคารด้วยการเปิด L/C
B - To -C ย่อมาจาก Business to Consumer เป็นการขายปลีกให้กับผู้บริโภค ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ส่วนใดของโลกชำระเงินผ่านระบบบัตรเครดิต การขายแบบนี้จะเข้ามาแทนที่การขายแบบ Direct Mail
C - To - C ย่อมาจาก Consumer to Consumer เป็นการขายปลีกระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือผู้ใช้อินเตอร์เน็ตด้วยกัน เช่น การขายซอฟต์แวร์ที่ตนพัฒนาขึ้นมา หรือการประมูลของที่ใช้แล้ว
ประโยชน์จาก E-Commerce
สินค้าที่ต้องการจำหน่ายผ่านทางอินเตอร์เน็ตจะเป็นสินค้าที่รู้จักของผู้ซื้ออยู่แล้ว หรือสินค้าขายปลีกทั่วๆ ไป ที่ลูกค้าเลือกซื้อได้จากทุกมุมโลก เพียงแต่คลิกเม้าท์เท่านั้น เช่น ผู้จำหน่ายหนังสือ ของเล่นอุปกรณ์ไฟฟ้า สินค้าที่สะดวกในการขนส่ง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ สินค้าส่งออกที่มีจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว สินค้าที่มีเอกลักษณ์ของไทย เช่นผ้าไหม สินค้าหัตถกรรมเซรามิค เครื่องประดับ ซึ่งใช้ E-Commerce จะประหยัดกว่าการทำธุรกิจแบบเดิม ที่ต้องส่งแคตาล๊อกไปให้ลูกค้าหรือไปเช่าบู๊ทในงานแสดงสินค้าในประเทศต่างค่าใช้จ่ายสูงมาก ถ้าสร้างเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต ทำเป็นบูทถาวรที่ลูกค้าเข้าชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสินค้าที่สามารถส่งมอบทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น เพลง วิดีโอเกม ซีดีรอม เมื่อลูกค้าชำระเงินเรียบร้อยก็กาวน์โหลดสินค้าเหล่านั้นเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของตัวเองที่เชื่อมต่อกันกับอินเตอร์เน็ตหรือธุรกิจที่มีบริการขนส่งสินค้าของตนเองอยู่แล้ว เช่น ร้านเบเกอรี่ ร้านดอกไม้ ซึ่งลูกค้าอยู่ต่างประเทศสามารถส่งสินค้าถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ หรือ เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น จองตั๋วเรือบิน จองแพ็คเกจทัวร์ จองโรงแรม โดยผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น
เขาเริ่มต้นธุรกิจ E-Commerce ได้อย่างไร
1. วิเคราะห์ดูว่าเรามีสินค้าอะไร ใครคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเรา ซึ่งจะต้องเป็นผู้ใข้อินเตอร์เน็ตและเราจะเลือกทำธุรกิจ E-Commerce ในรูปแบบใดใน 3 แบบข้างต้น เพราะถ้าสินค้าที่เราขายไม่ใช่กลุ่มใช้อินเตอร์เน็ตก็หมายถึงตลาดไม่เหมาะสมกับกลุ่มนอกจากนั้นต้องวิเคราะห์คู่แข่งขัน ซึ่งหาข้อมูลคู่แข่งขันได้จาก Web Site ของคู่แข่ง แล้วเปิดเข้าไปดูว่าเขาจัดรูปแบบหน้าร้าน ตั้งราคาสินค้า การจัดส่งสินค้าการส่งเสริมการขาย ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดของคู่แข่งเรานำมาปรับใช้กับธุรกิจของเรา
2. โฆษณาเผยแพร่สินค้าให้เป็นที่รู้จัก โดยจัดทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ แคตาล๊อค อธิบายรายละเอียดสินค้าพร้อมคุณสมบัติของสินค้า บริการขนส่งในการซื้อขาย นโยบายการคืนสินค้าและคืนเงิน สกุลเงินที่ใช้ หรือลง ทะเบียนไว้ในระบบค้นหากับเว็บไซต์ทีมีชื่อเสียงเปิดให้บริการอยู่เป็นค่าใช้จ่ายที่ถูก และ สามารถแสดงภาพ 3 มิติ เคลื่อนไหวได้ มีบรรยายประกอบ เปิดให้ชมได้ 24 ชั่วโมง
ถ้าหากมีสินค้าหลายชนิด และประสบความสำเร็จในการขายบ้างแล้ว ก็อาจทำร้านค้าทางอินเตอร์เน็ต ด้วยการสร้าง Web Site ของตนเองโดยดำเนินการต่อไปนี้
1. จดทะเบียนชื่อร้าน หรือที่เรียกว่า Domain Name ซึ่งเท่ากับเสมือนยี่ห้อสินค้าของเราและสร้าง Web Site
2. เช่าพื้นที่เว็บไซต์โดยต้องคิดว่าถ้าขายออกต่างประเทศก็เช่าต่างประเทศ แต่ถ้าขายในประเทศก็เช่าในไทย
3. ติดตั้งระบบป้องกันข้อมูล และติดต่อธนาคารขอรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบชำระเงิน
4. โฆษณา Web Site ให้ลูกค้ารู้จัก โดยโฆษณาตาม Banner ของ Web Site ต่างๆ หรือลงทะเบียนไว้ในระบบค้นหาข้อมูลกับ Web Site ที่มีชื่อเสียงเช่น Yahoo, Altavista ฯลฯ
5. เตรียมติดต่อบริษัทขนส่งเพื่อส่งมอบสินค้า
6. ศึกษาแบบชำระเงิน ซึ่งอาจมีอยู่หลายวิธีดังนี้ ผ่านธนาคาร เช่น เปิด L/C สำหรับการส่งออกหรือชำระด้วยบัตรเครดิต ก็ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยในการชำระเงิน โดยหารือกับธนาคารต่างๆ
* ชำระเงินต่างระบบธนาคาร เช่น เปิด L/C สำหรับส่งออก
* ชำระด้วยบัตรเครดิต ก็ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยในการชำระเงิน โดยต้องหารือกับธนาคาร
* การโอนเงินเข้าบัญชี ซึ่งใช้กับผู้ซื้อของจำนวนมาก และไม่ต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเนื่องจากกลัวไม่ปลอดภัย วิธีทำก็คือ เมื่อสั่งซื้อก็โอนเงินบัญชีผู้ขาย พร้อมส่งแพ็ค หรืออีเมลใบสั่งซื้อและใบเสร็จโอนเงินให้ผู้ขายแล้วผู้ขายก็จัดส่งสินค้ามาให้วิธีนี้ผู้ขายได้เปรียบ
* เงินสด ใช้บริการของบริษัทขนส่งสินค้าชั้นนำทั่วไป ให้ส่งสินค้าให้แล้วเก็บเงินปลายทางซึ่งผู้ซื้อยังไม่ต้องจ่ายเงินจนกว่าจะได้รับสินค้า วิธีนี้สะดวกกับผู้ซื้อ แต่ผู้ขายมีความเสี่ยง อาจถูกยกเลิกการซื้อ ทำให้ผู้ขายเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
* เซ็นเช็คจ่ายเงินผ่ายทางเว็บ คือ ใช้เช็คจ่ายเงินผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยหลังซื้อสินค้าแล้วก็เลือกจ่ายเงินผ่านทางเช็ค ก็จะมีเช็คเปล่าให้เรากรอกรายละเอียดลงไป ถือว่าเสร็จเรียบร้อย วิธีนี้นิยมใช้เฉพาะอเมริกา
7. ต้องมีการปรับปรุงติดตามผลหลังจากการขายสินค้า หรือบริการ และเก็บเงินแล้ว มีหลายท่านคิดว่าเสร็จสิ้นการทำธุรกิจแบบ E- Commerce การคิดเช่นนั้นถือว่าเป็นความคิดที่ผิด อันที่จริงการทำธุรกิจ E - Commerce พึ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น ต้องมีการปรับปรุงร้านค้า หรือ Web Page ของเราอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีบริการหลังการขาย เช่น ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการขายสินค้านั้น หรือเปิดอีเมล์เพื่อให้ลูกค้าติ - ชม มีข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นช่องทางทำตลาดให้กับสินค้าตัวใหม่ และสร้างสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าเก่า
ลักษณะเด่นของ E-Commerce
1. เป็นการค้าที่ไร้พรมแดน ไม่มีการแบ่งทวีปหรือประเทศ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทาง และการเดินทาง ท่านสามารถที่จะซื้อสินค้าจากร้านหนึ่ง และเดินทางไปซื้อสินค้าจากร้านอีกร้านหนึ่งซึ่งอยู่คนละทวีปกันได้ ในเวลาเพียงไม่กี่นาที
2. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขนาดใหญ่ทั่วโลก ฐานผู้ซื้อขยายกว้างขึ้น
3. คุณสามารถทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงและเปิดได้ทุกวันโดยไม่วันหยุด
4. คุณไม่มีความจำเป็นต้องจ้างพนักงานขายเพราะเจ้า E-Commerce จะทำการค้าแบบอัตโนมัติให้คุณ ไม่ต้องมีสินค้าคงคลังหรือมีก็น้อยมาก
5. คุณไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกแถว เพื่อใช้เป็นร้านค้า เพียงแค่สร้าง Web Site ก็เปรียบเสมือนร้านค้าของคุณแล้ว ไม่ต้องเสี่ยงกับทำเลที่ตั้งของร้านค้า
6. E-Commerce สามารถเก็บเงิน และนำเงินฝากเข้าบัญชี ให้คุณโดยอัตโนมัติ
อุปสรรคของการทำ E-Commerce
1. ความเสี่ยงจากการที่ยังไม่มีกฎหมายมารองรับการค้าแบบ E-Commerce เพราะฉะนั้นเราควรเขียนคำบรรยายถึงขอบเขตในการรับผิดชอบของเราทีมีต่อลูกค้าให้ชัดเจน เช่น ซื้อสินค้าแล้วไม่รับคืนก็ต้องแจ้งลูกค้าให้เข้าใจ
2. ไม่มีการกำหนดมาตรฐานในด้านภาษีเนื่องจากยังไม่มีกฎหมายมารองรับ
3. ปัญหาในการจัดส่งสินค้าที่ไม่สะดวกรวดเร็ว หรือสินค้าชำรุดเสียหาย ซึ่งได้แก่ พวกสินค้าที่เป็นของสด เช่น อาหาร หรือดอกไม้ สินค้าเหล่านี้ อาจเสียหาย หรือเสื่อมสภาพ เน่าเสีย จากระยะเวลา ในการขนส่งได้
4. ปัญหาจากการขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูงเช่น อัญมณีต่างๆ บริษัทขนส่งมักจะไม่ยินดีที่จะรับส่งของเหล่านี้ เนื่องจากโอกาสสูญหายได้ง่าย
5. การทุจริตฉ้อโกง เช่น การปลอมบัตรเครดิต
6. ไม่แน่ใจผู้ขายเป็นผู้ประกอบการที่ปฎิษัติธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และน่าเชื่อถือเพียงใด
7. ทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
8. ผู้ขายยังไม่มั่นใจว่าตัวตนจริงของลูกค้าจะเป็นบุคคลคนเดียวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ นั่นคือผู้ขายไม่มั่นใจว่า ผู้ซื้อมีความสามารถจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการหรือไม่
ที่มา : หนังสือก้าวสู่ความเป็นผู้ประกอบการโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม






หลักการด้านอีคอมเมิร์ซ





พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซคือ การค้าขายผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เนต อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิถีทางการดำรงชีวิตของทุกคน อินเตอร์เนต จะเปลี่ยนวิธีการศึกษาหาความรู้ อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการทำมาค้าขาย อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการหาความสุขสนุกสนาน อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมกันเข้ามาหาอินเตอร์เนต กล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้ถ้าบริษัทห้างร้านใดไม่มีหน้าโฮมเพจในอินเตอร์เนตบริษัทห้างร้านนั้นก็ไม่มีตัวตน นั่นคือไม่มีใครรู้จัก เมื่อไม่มีใครรู้จักก็ไม่มีใครทำมาค้าขายด้วย แล้วถ้าไม่มีใครทำมาค้าขายด้วยก็อยู่ไม่ได้ต้องล้มหายตายจากไป ว่ากันว่าอินเตอร์เนตคือแหล่งข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้า ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายผู้ผลิต ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการที่จะซื้อสินค้ากันมากขึ้น เช่นการเข้าไปเลือกซื้อจากในเว็บไซต์ มีการเข้าไปเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนที่จะซื้อ หากจะกล่าวว่า “ข่าวสาร” คืออำนาจ ในปัจจุบันนี้ผู้บริโภคก็ได้รับการติดอาวุธอย่างใหม่ที่มีอำนาจมากพอที่จะต่อรองกับผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสินค้าได้ผลดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาและพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ในการทำอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นเว็บเพจหรือช่องทางการจำหน่ายสินค้า แต่อีคอมเมิร์ซยังมีความหมายรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับผู้บริโภค และผู้ค้าส่ง สำนักวิจัยไอดีซี (IDC) ได้ประมาณรายได้ของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (B-to-B) ว่าเพิ่มขึ้นจาก 80 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3,200 พันล้านบาทในปี พ.ศ. 2542 เป็น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 40 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2546




คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซ







คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซนั้นได้มีผู้ให้นิยามไว้ต่างๆ กันอันเนื่องมาจากมองในแง่มุมที่แตกต่างกัน ถ้าถามอาจารย์สามคนว่าอีคอมเมิร์ซคืออะไร ก็คงได้คำตอบสี่คำตอบ คือแต่ละคนให้คำตอบคนละคำตอบ แล้วเมื่อมาประชุมปรึกษาหารือกันก็ตกลงกันเป็นอีกคำตอบหนึ่ง ถ้าถามนักอินเตอร์เนตหรือที่เรียกกันว่าอินเตอร์นอต (Internaut แบบเดียวกับ Asternaut) ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือระบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตถ้าถามนักสื่อสารก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการใช้ระบบสื่อสารในการส่งโฆษณา สินค้าและบริการไปให้ลูกค้า การใช้ระบบสื่อสาร โดยลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและการจ่ายเงิน ถ้าถามผู้ให้บริการก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการให้บริการให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ให้บริการผู้ซื้อได้ดูโฆษณาเลือกหาสินค้า และให้บริการเจ้าของกิจการได้ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า ถ้าถามนักเทคโนโลยี ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าขาย สรุปอย่างง่ายๆ โดยสังเขปก็อาจจะได้ความว่า อีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบการจัดตั้งร้านค้าหรือทำหน้าโฆษณาที่เรียกว่าโฮมเพจหรือเว็บเพจบนอินเตอร์เนต (2) ผู้ซื้อเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในอินเตอร์เนต (3) ผู้ซื้อติดต่อสอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย เช่น ของดีจริงหรือไม่ ส่งได้รวดเร็วเท่าใด มีส่วนลดหรือไม่ เป็นต้น (4) ผู้ซื้อสั่งสินค้าและระบุวิธีจ่ายเงิน เช่น โดยผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น (5) ธนาคารตรวจสอบว่าผู้ซื้อมีเครดิตดีพอหรือไม่และแจ้งให้ผู้ขายทราบ (6) ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ (7) ผู้ซื้ออาจจะใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อขอบริการหลังการขายจากผู้ขาย้
ประวัติวิวัฒนาการอีคอมเมิร์ซโดยสังเขป
การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้นหลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเตอร์เนตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้น เหตุผลที่ทำให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วย พอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่างๆ ในอเมริกาได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย




ประเภทของอีคอมเมิร์ซ




มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้
(1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เนต (2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เนต (3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ (4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง (5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้
อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้ ้
(1)อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้ - การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น - การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น - ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เนตได้โดยสะดวก (2)อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ - การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น - การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ - การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น (3)อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce) ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้ - การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ - การจัดการสินค้าคงคลัง - การจัดส่งสินค้า - การจัดการช่องทางขายสินค้า - การจัดการด้านการเงิน
อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้
(1)การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท (2)การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เนตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เนตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ (3)อินเตอร์เนตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เนต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง (4)โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เนต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เนตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ (6) การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เนต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ (7) ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ (RSA = Rivest, Shamir and Adleman) ดีอีเอส (DES= Data Encryptioon Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภทสินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
(1)สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เนต (2)สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์
แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ คือ
(1) Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าเพราะลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม (2) Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท (3) Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน






- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้ - Electronic commerce, commonly known as e-commerce or eCommerce, consists of the buying and selling of products or services over electronic systems such as the Internet and other computer networks. The amount of trade conducted electronically has grown dramatically since the wide introduction of the Internet. A wide variety of commerce is conducted in this way, including things such as electronic funds transfer, supply chain management, e-marketing, online marketing, online transaction processing, electronic data interchange (EDI), automated inventory management systems, and automated data collection systems. Modern electronic commerce typically uses the World Wide Web at at least some point in the transaction's lifecycle, although it can encompass a wide range of technologies such as e-mail as well.
กระบวนการพื้นฐาน (Basic Process) เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
ลูกค้า ชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)
ลูกค้า รอรับสินค้า จากผู้จำหน่าย (Shipping)
e-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจได้หลายด้าน เรียบเรียงจาก e-Commerce และกลยุทธ์การทำเงิน โดย วัชระพงศ์ ยะไวทย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด หน้า 20
ทำงานแทนพนักงานขายได้ โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้เปิดหน้าร้านขายของ ให้คนทั่วโลกได้ และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดตลอด 24 ชั่วโมง
เก็บเงิน และนำฝาก เข้าบัญชีให้คุณได้โดยอัตโนมัติ
ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์แคตาล็อก (กระดาษ) ออกมาเป็นเล่ม ๆ และไม่ต้องมาเสียเงิน และเวลาในการจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์อีก
แทนได้ทั้งหน้าร้าน (Showroom) หรือบูท (Booth) แสดงสินค้าของคุณที่มีคนทั่วโลกมองเห็น ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
แทน และเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารธุรกิจ ภายในของเราได้อีกมากมาย
หัวข้อให้คิด ที่ส่งผลให้การทำ e-Commerce สำเร็จ
สำรวจ (Research) :: สำรวจตลาดบ่อยเพียงใด เพื่อประเมินคู่แข่ง ตนเอง และลูกค้า
วางแผน (Planning) :: กำหนด Gantt chart เพื่อติดตั้งระบบ แผนลงทุน และแผนคืนทุน
เงินทุน (Loan) :: ต้องใช้เงินทุนทั้งหมดเท่าไร หาได้ที่ไหน คืนอย่างไร
จ่ายเงิน (Payment) :: แผนรับชำระเงิน เช่น โอนผ่านตู้เอทีเอ็ม พกง. เพย์พาล เคาน์เตอร์ธนาคาร ดร๊าฟธนาคาร บัตรเครดิต ตั๋วเงินรับ เช็คส่วนบุคคล การโอนทางโทรเลข
ขนส่ง (Transport) :: สินค้าจะจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าอย่างไร เช่น Fedex, DHL, Logistic เป็นต้น
สินค้า (Product) :: ความน่าสนใจของสินค้า ขายแล้วจะมีคนซื้อ หรือไม่
ราคา (Price) :: ราคาที่จะส่งผลถึงกำไร จากการสั่งซื้อแต่ละครั้งมากพอ หรือไม่
สถานที่ (Place) :: ขายให้คนไทย หรือต่างชาติ ที่พักสินค้า ร้านตั้งที่ไหน
โฆษณา (Promotion) :: มีแผนโฆษณาอย่างไร และจะใช้วิธีการใดบ้าง
คลังสินค้า (Stock) :: ระบบจัดการคลังสินค้า ควบคุมอย่างไร
เวลา (Time) :: ประเมินระยะเวลาตั้งแต่สั่งซื้อ ส่งสินค้า และได้รับเงิน ทั้งหมดกี่วัน
ผิดพลาด (Error) :: ส่งไปแล้วไม่มีผู้รับ ไม่ได้รับเงิน ส่งไม่ทัน ไม่ได้มาตรฐานทำอย่างไร
สำนักงาน (Office) :: มีพนักงานกี่คน ลงทุนอะไรบ้าง ที่ตั้งสำนักงาน และแหล่งสินค้า
หีบห่อ (Package) :: คำสั่งซื้อจะมาพร้อมรูปแบบสินค้า และลักษณะหีบห่อ ยืดหยุ่นหรือไม่
เทคนิค (Technique) :: รายละเอียดของระบบที่ใช้ เพื่อให้เกิดการซื้อขายได้ เป็นแบบใด
ออกแบบ (Design) :: ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือหน้าร้านได้น่าสนใจหรือไม่
ความปลอดภัย (Security) :: ทุกระบบต้องรองรับการโจมตีจากผู้ไม่หวังดีได้ทุกรูปแบบ
ขนาด (Size) :: ขนาดระบบ เช่น รองรับจำนวนลูกค้า การสั่งซื้อ หรือสินค้าได้เพียงใด
การควบคุม (Controlling) :: การควบคุมกระบวนการทั้งหมด ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้อง
สำรอง (Backup) :: แผนสำรองข้อมูล ในกรณีที่ระบบล้ม หรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ยกเลิก
ภาษี (Tax) :: เข้าใจกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ในประเทศ และกฎหมาย
ด้าน IT



แหล่งที่มาของข้อมูล

http://thaiall.com/article/ecommerce.htm

http://library.dip.go.th/multim/edoc/09647.doc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น